Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2396
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนี กังวานพรศิริth_TH
dc.contributor.authorนพวัชร์ อติวรรณาพัฒน์, 2506-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-09T06:58:18Z-
dc.date.available2022-12-09T06:58:18Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2396en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้จ่ายเงิน งบประมาณภาครัฐตามโครงการ “เช็คช่วยชาติ” ที่มีต่อการใช้จ่ายบริโภคและการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศไทย (2) เพื่อแสดงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติจาก การใช้จ่ายเงินโครงการ “เช็คช่วยชาติ” ของกลุ่มประชากรต่างๆ ในประเทศ ตามแนวความคิด เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของค่าตัวทวี ข้อมูลที่ใชัในการศึกษาเป็นตัวเลขสถิติแบบทุติยภูมิ ด้านรายได้ประจำและค่าใช้จ่าย เพื่อการบริโภคของประชากรระหว่างปี พ.ศ. 2539 - 2550 จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยวิธีการคำนวณโดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) ที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ประจำหลังหักภาษี (ตัวแปรอิสระ) กับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค (ตัวแปรตาม) การหาค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (The Coefficient of Determination : R2) และการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของตัวแปร (e) จากค่า Durbin-Watson ผลการศึกษาพบว่า (1) ค่าความโน้มเอียงการบริโภคหน่วยสุดท้ายซึ่งแยกตามสถานะ ทางเศรษฐสังคมสามารถนำมาเรียงลำดับได้ คือ 1) กลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจของตนเอง เท่ากับ 0.778 2) กลุ่มลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ เท่ากับ 0.799 3) กลุ่มผู้ถือครองทำการเกษตร เท่ากับ 0.815 4) กลุ่มลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิต เท่ากับ 0.819 5) กลุ่มผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ (แม่บ้าน คนชรา นักเรียน และผู้พิการ เป็นต้น) เท่ากับ 0.920 (2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาลระยะแรกผ่านโครงการเช็คช่วยชาติ โดยการเลือกจ่ายเงินให้กับกลุ่มบุคคลที่เป็นลูกจ้าง ผู้ปฏิปติงานวิชาชีพและด้านการผลิตนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินโอนภาครัฐ (TR) ที่จะช่วยอัดฉีด เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ อันจะส่งผลทำให้ระดับการบริโภคและรายได้ประชาชาติของประเทศ เพึ่มขึ้นได้ตามแนวคิดของทฤษฏีเคนส์ เกี่ยวกับการทำงานของตัวทวี อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเงิน ตามโครงการเช็คช่วยชาติ รัฐบาลไม่สามารถที่จะเลือกจ่ายให้กับกลุ่มผู้ไม่ได้ปฏิบัติงาน เชิงเศรษฐกิจที่มีค่าความโน้มเอียงสูงที่สุดได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโครงการเช็คช่วยชาติth_TH
dc.subjectค่าใช้จ่ายและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย -- ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการเช็คช่วยชาติต่อการใช้จ่ายบริโภคของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAnalysis of the impacts of the cheque chuaichart program on consumption expenditure in Thailand.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127228.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons