Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดจิต เจนนพกาญจน์th_TH
dc.contributor.authorสุจิตราพร โพธิ์ประดิษฐ์, 2527th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-04T11:05:27Z-
dc.date.available2022-08-04T11:05:27Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/239en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน (2) ปัญหาและอุปสรรคของการประกอบอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและการพัฒนาอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลาน ของชาวตำบลท่าวาสุกรี และตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ทั้งสิ้นจำนวน 45 คน จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลท่าวาสุกรี จำนวน 24 คน ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำชาวบ้าน จำนวน 7 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้ประกอบการจำนวน 5 คน นักท่องเที่ยว จำนวน 10 คน และกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง จำนวน 21 คนประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำ ชาวบ้าน จำนวน 4 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน พนักงานเทศบาลกองสวัสดิการและสังคม จำนวน 2 คน นักท่องเที่ยวจำนวน 10 คน โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของหัตถกรรมพื้นบ้านการสานปลาตะเพียนใบลานเริ่มโดยชาวไทยมุสลิมที่ประกอบอาชีพค้าขายเครื่องเทศและอาศัยในเรือ มีชีวิตผูกพันกับลำน้ำเจ้าพระยามากกว่า 200 ปี จึงคุ้นเคยกับปลา ที่มีลักษณะงดงามสะดุดตาคือ ปลาตะเพียน จึงประดิษฐ์ รูปปลาตะเพียนจากวัสดุในท้องถิ่น เช่นใบตอง ใบมะพร้าว ต่อมาได้ พัฒนาเป็นการใช้ใบลาน เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพื่อแขวนประดับ และเป็นของเล่นสำหรับลูกหลาน และมีการพัฒนาการตกแต่งสี และลาย แบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการค้า พร้อมกับการประยุกต์ใช้วัสดุสังเคราะห์ชนิดอื่นเช่นหลอด และพลาสติก แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากตลาด จึงเน้นการผลิตและรักษารูปแบบของการใช้ใบลานมาจนปัจจุบัน (2) ปัญหาอุปสรรคของการประกอบอาชีพการสานปลาตะเพียนใบลานของชาวบ้าน มาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนแรงงาน และการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ส่งผลให้ผู้ผลิตมีรายได้น้อยลง (3) แนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคและการพัฒนาอาชีพการสานปลาตะเพียนใบลาน ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชนโดยเฉพาะด้าน การพัฒนารูปแบบให้สวยงาม ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ และสถานที่จัดจำหน่าย รวมทั้งการรณรงค์ จัดกิจกรรมการเผยแพร่ งานศิลปะการสานใบลานปลาตะเพียนสู่เยาวชน เพื่อปลูกฝังให้เกิดความหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมของชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.68en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectหัตถกรรม--ไทย--พระนครศรีอยุธยาth_TH
dc.subjectใบลานth_TH
dc.subjectเครื่องจักสานth_TH
dc.titleหัตถกรรมการสานใบลานปลาตะเพียน : กรณีศึกษาชาวบ้านตำบลท่าวาสุกรี และตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาth_TH
dc.title.alternativeTapian fish palm leaves weaving handicrafts : a case study of Tha Wasukri and Phu Khao Thong Sub-districts Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2014.68-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) the history and development of the folk craft of weaving Java barb fish models from Talipot palm leaves; (2) the problems encountered by residents of Tha Wasukri Sub-district and Phukhao Thong Sub-district, Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Ayutthaya Province, who make their living from this folk handicraft; and (3) approaches to solving those problems and developing the career of making palm leaf Java barb fish models. This was a qualitative research based on documentary research, participatory observation and in-depth interviews with 45 key informants from 2 subdistricts in Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Ayutthaya Province. The 24 key informants from Tha Wasukri Sub-district consisted of 7 village leaders and knowledgeable people, 2 academics, 5 business people and 10 tourists. The 21 key informants from Phu Khao Thong Sub-district consisted of 4 village leaders and knowledgeable people, 2 academics, 3 business people, 2 employees of the municipal social welfare department and 10 tourists. Data were analyzed using descriptive analysis. The results showed that (1) The art of weaving Java barb fish from Talipot palm leaves was started by Muslim Thais who lived in boats and traded in spices. Because their lives had been closely connected with the Chao Phraya River for more than 200 years they were familiar with fish, and because the Java barb is a strikinglooking fish, they invented a way to make models of Java barbs from local materials like banana leaves and coconut leaves. Later they began to use Talipot palm leaves to make the fish because they are stronger and more durable. The woven fish were made to be hung up as decorations or for playthings for children. The crafters developed ways to decorate the woven fish with paint and began to produce them for sale. They experimented with using synthetic materials like plastic sheets or plastic straws, but they were not as well received in the market, so at present most of the fish are woven from palm leaves. (2) The problems encountered by people who make their livelihood from selling these woven fish are a lack of raw materials, a lack of labor, and price pressure from middlemen that has caused the crafters’ income to decrease. (3) To solve these problems, the key informants recommended that the government and private sector should support this traditional craft, especially by helping develop product and packaging innovations and providing more marketing outlets to distribute the products. They said there should be a campaign to promote and publicize the craft among youth so that they will appreciate this cultural heritage.en_US
dc.contributor.coadvisorสรายุทธ ยหะกรth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150607.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons