Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2416
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิพัฒทรา ใจเป็ง, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-13T07:27:09Z-
dc.date.available2022-12-13T07:27:09Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2416-
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 2) พฤติกรรมด้านการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ 4) ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้มีหน้าที่ยื่นแบบในท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 11 การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 11 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแยกเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นและไม่ยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จำนวน 160 คน และ 240 คน ตามลำดับใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และ 2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านกำกับดูแลผู้เสียภาษีสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 11 จำนวน 8 คน สุ่มตัวอย่างแบบวิธีเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้แบบจำลองโลจิท ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ ที่ยื่นแบบชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 33 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 300,000 บาท และเป็นผู้ประกอบการประเภทนิติบุคคล ส่วนผู้ที่ยังไม่ยื่นแบบชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 100,000 บาท และเป็นผู้ประกอบการประเภทนิติ 2) พฤติกรรมการยื่นแบบชำระภาษีของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ได้แก่ ยื่นแบบชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ยื่นแบบด้วยตนเองหรือพนักงานของบริษัท และติดตาม ข่าวสารการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยื่นแบบชำระภาษีทาง อินเทอร์เน็ต ที่ระดับนัยสำคัญ ได้แก่ ระดับการศึกษา และ ประเภทของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีโอกาสยื่นแบบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตสูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับอื่นๆ และผู้ประกอบการนิติบุคคล มีโอกาสที่จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่า ผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา 4) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการยื่นแบบชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ได้แก่การขาดความมั่นใจในการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต และการขาดความรู้และความเข้าใจในการยื่นแบบth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการชำระภาษี -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectภาษีมูลค่าเพิ่มth_TH
dc.subjectการบังคับคดีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการจดทะเบียนในท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 11th_TH
dc.title.alternativeฃFactors influencing the decision to file a value added tax over the internet of entrepreneurs in the Bangkok Area Revenue Office 11th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examines: 1) the general characteristics, 2) a value added tax filing behaviour, 3) factors influencing the decision of filing a value added tax, and 4) problems and obstacles of a value added tax filing through an internet of the entrepreneurs in the Bangkok Area Revenue Office 11. Primary data had been collected from two sources, i.e. entrepreneurs and revenue office officials, via purposively sampling method, Firstly, data from 400 registered entrepreneurs, comprising 160 and 240 persons who filed value added tax over and without the internet channels respectively by using questionnaire in data collection. Secondly, 11 operating officials of the Bangkok Area Revenue Office 11 were interviewed in the data collection. Descriptive statistics and Binary Logistic Regression Analysis were employed to analyze the data. The results of study were: 1) the general characteristics of taxpayers who decided to file a value added tax over the internet were mostly male, 33 years old in an average, bachelor’s degree graduate, corporate entrepreneurs, with 300,000 baht monthly income in average. Those who did not submit the tax over the internet were also mostly female, 57 years old in an average bachelor’s degree graduate, corporate entrepreneurs, with 100,000 baht monthly income in an average. 2) Tax filing behavior of entrepreneurs mostly filed the tax payment form at the branch revenue office by themselves or their staff, and regularly followed the news about submitting the form over the internet. 2) The personal influence factors of taxpayers who decided to file a value added tax over the internet at the significance level 0.05 were education level and type of entrepreneur. Those who had bachelor’s degree tended to file via internet than other degrees, while a corporate entrepreneur inclined to submit over the internet channel more than a private one. 4) The important problems and obstacles of the entrepreneurs for the value added tax submission over the internet were the lack of confidence as well as knowledge and understanding about the submissionen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159659.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons