Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2456
Title: การศึกษาพฤติกรรมการออมและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการออมของข้าราชการในจังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: An analysis of factors determining saving behavior : a case study of government officials in Phitsanulok Province
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรียานุช ศรีจรรยา, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการ -- ไทย -- พิษณูโลก
ข้าราชการ -- การเงินส่วนบุคคล
การประหยัดและการออม -- ไทย -- พิษณูโลก
การประหยัดและการออม -- แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ การออมของข้าราชการในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อ (1) ศึกษาถึงรูปแบบและพฤติกรรมการออมของ ข้าราชการ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมของข้าราชการ (3) ศึกษาปัญหา และอุปสรรค ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของข้าราชการ ในการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือ ข้าราชการในจังหวัดพิษณุโลกที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง และ อำเภอวังทอง จำนวน 102 ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการ วิเคราะห์เชิงปริมาณในแบบการวิเคราะห์หลายตัวแปร โดยวิธีการถดถอย แบบ Binary Logistic ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาจากแบบจำลองที่ทำการวิเคราะห์สามารถอธิบายความถูกต้องได้ร้อยละ 89.2 พบว่า (1) รูปแบบของการออมเงินอยู่ในรูปของการฝากเงินในสหกรณ์ออมทรพย์ โดยมี พฤติกรรมการออมเกิดจากแรงจูงใจในการออมเพื่อเพิ่มพูนทรัพย์สินเป็นหลัก (2) ปัจจัยที่มี ผลกระทบต่อการออม พบว่า รายได้ประจำ ทัศนคติต่อการออมเฉลี่ยต่อเดือน การประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์ และหุ้นในสหกรณ์ออมทรัพย์ มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการออม สำหรับ สถานภาพการสมรส และจำนวนบุตรหรือบุคคลที่ต้องเลี้ยงดู มีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตรงกันข้ามกับการออม ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฏี และสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม การออม เกิดจากการไม่เชื่อมั่นกับสภาพเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาบุตรสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก และปัญหาการเจ็บป่วยของ บุคคลในครอบครัว
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2456
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113522.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons