Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2466
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอัจฉรา โพธ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเสาวรัจ นิลเนตร, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-12-21T06:18:02Z-
dc.date.available2022-12-21T06:18:02Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2466-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) การจัดการปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรทำนาในเขตคลองสามวาที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับสำนักงานเกษตรเขตมีนบุรี จำนวน 639 ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คิดเป็นร้อยละ 24 ของประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร และวิเคราะห์ดินของแต่ละรายโดยชุดตรวจสอบค่า เอ็น พี เค และ ความเป็นกรดด่างของดินแบบรวดเร็ว (NPK pH Test Kit for Soil) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด และค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.8 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถม มีแรงงานเฉลี่ย 1.7 คน มีประสบการณ์การ ทำนาเฉลี่ย 28.6 ปี มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 27.7 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 832.5 กก.ต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 8,700.3 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,705.6 บาทต่อไร่ 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร เกษตรกรใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ในการปลูกข้าว 25 กก.ต่อไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้มากที่สุด คือ พันธุ์ กข 3 ปลูกข้าว 2 ครั้ง ขายผลผลิตทันทีหลังการเก็บเกี่ยว 3) การจัดการปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กก.ต่อไร่ การวิเคราะห์ดินของเกษตรกรส่วนใหญ่ดินมีความเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0) ระดับธาตุอาหารในดินมีธาตุไนโตรเจนตํ่า มีธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโพแทสเซียมปานกลาง เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีไม่เป็นไปตามคำแนะนำจากผลการวิเคราะห์ดินและไม่ใช้โพแทสเซียม 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ปุ๋ยในนาข้าว เกษตรกรมีปัญหาการใช้ปุ๋ยในด้านองค์ความรู้ การผลิต การใช้ปุ๋ย และด้านสิ่งแวดล้อม และมีข้อเสนอแนะให้มีการแนะนำและส่งเสริมความรู้การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี การประชาสัมพันธ์แหล่งจำหน่ายปุ๋ย ข้อมูลด้านราคา และการจัดทำแปลงสาธิตการใช้ปุ๋ยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.80-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าว--ปุ๋ยth_TH
dc.titleการจัดการปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeFertilizer management in paddy field by farmers in Klong Sam Wa District of Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.80-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study 1) the social and economic fundamentals of farmers in Klong Sam Wa District of Bangkok Metropolis; 2) their rice production condition; 3) their fertilizer management in paddy fields; and 4) their concerns and suggestions regarding fertilization used in paddy fields. The research was done by surveying 155 farmers from the population of 639 farmers in Klong Sam Wa District who registered as farmers at Minburi Agricultural Extension Office. The simple random sampling method was used. Information was collected by interviewing farmers and by analyzing soil samples by NPK pH Test Kit for Soil. Statistics used were percentages, averages, minima and maxima. The research results indicated that: 1) most of the sample farmers were males with an average age of 56.8 years, and had completed elementary level education. The average number of workers per farm was 1.7. The farmer’s average experience in farming was 28.6 years. The average paddy field area was 27.7 rai (4.4 ha). The average yield was 832.5 kg/rai (5,203 kg/ha). The average income was 8,700.3 baht/rai (54,375 baht/ha) and the average cost of production was 4,705.6 baht/rai (29,410 baht/ha). 2) The average amount of rice seed used was 25 kg/rai (156 kg/ha). The variety most used was RD 31 and grown twice per year. They sold their yields promptly after harvesting. 3) For fertilizer management, most farmersused chemical fertilizer (16-20-0) twice per crop at the rate of 25 kg/rai (156 kg/ha).Soils samples were moderately acidic (pH 5.0) with low nitrogen. The amount of phosphorus and potassium were moderate. Chemical fertilizer use was not according to the suggestion based on soil analysis, and the farmers did not use potassium. 4) Concerns regarding fertilization use in paddy fields in Klong Sam Wa District of Bangkok Metropolis were that there were problems with chemical fertilizer application in terms of farmers’ knowledge, production and environment aspects. Suggestions made included improving farmers’ fertilizer usage knowledge, advertising fertilizer distribution sources, and constructing model fields demonstrating recommended fertilizer application techniques.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144816.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons