Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2472
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชฎาพร เลิศโภคานนท์th_TH
dc.contributor.authorปิยพร พานทอง, 2514-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-21T07:22:41Z-
dc.date.available2022-12-21T07:22:41Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2472en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปและสินเชื่อของธนาคารออมสิน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดปริมาณการให้สินเชื่อของธนาคารออมสินเขตลพบุรี ข้อมูลที่ใชัในการศึกษาเป็นข้อมูลข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา รายไตรมาส ตั้งแต่ ไตรมาส 4 ของปี 2547 ถึงไตรมาส 3 ของปี 2552 ที่ได้รวบรวมโดยธนาคารออมสิน ภาค 4 ได้แก่ ข้อมูลปริมาณเงินให้สินเชื่อ ปริมาณเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีของธนาคาร ออมสินและหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารออมสินเขตลพบุรี ข้อมูลที่ได้นำมาทำการวิเคราะท์ โดยใช้วิธีการถดถอยพหุคูณเชิงช้อน ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปและสินเชื่อของธนาคารออมสินเขตลพบุรี ทุกสาขา มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้นและมีผลการดำเนินงานปริมาณสินเชื่อคงเหลือเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2549 ถึงปี 2551 ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นแหล่งเงินออมและแหล่งให้สินเชื่อแก่ภาครัฐบาลและภาคเอกชน และในการให้สินเชื่อของธนาคารออมสินสามารถก่อให้เกิด การลงทุน การจ้างงานและการบริโภค ซึ่งส่งผลให้เกิดความเจริญเติบโตแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณการให้สินเชื่อรวมของธนาคารออมสินเขตลพบุรี คือ ปริมาณเงินฝากรวมของธนาคารออมสินเขตลพบุรี สภาพคล่องของธนาคารออมสิน มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกับปริมาณการให้สินเชื่อรวมของธนาคารออมสินเขตลพบุรี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีของธนาคารออมสิน และหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณสินเชื่อรวมของธนาคารออมสินเขตลพบุรี ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยปัจจัยที่มีอิทธพลมากที่สุดคือ สภาพคล่องของธนาคารออมสิน ปัจจัยที่มีอิทธิพลรองลงมาตามลำดับ คือ ปริมาณเงินฝากของธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีของธนาคารออมสิน และหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectธนาคารออมสิน--ไทย--ลพบุรีth_TH
dc.subjectสินเชื่อth_TH
dc.titleปัจจัยกำหนดปริมาณสินเชื่อธนาคารออมสินเขตลพบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors determine loans of the Government Savings Banks in Lop Buri Zoneen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125666.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons