Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2490
Title: การปรับตัวของแรงงานหลังวิกฤตเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540
Other Titles: Labour adaptation after economic crisis in 1997
Authors: ศิริพร สัจจานันท์
พรทิพย์ จันทปัชโชติ, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าจ้างกับแรงงาน--ไทย
ผลิตภาพแรงงาน--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงการปรับตัวของแรงงานหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 และข้อควรพัฒนาของแรงงานไทยที่สอดคล้องกับโครงสร้างแรงงานในภาคเกษตรกรรม และนอกภาคเกษตรกรรมในอนาคต โดยศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลของกรมแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาดิ สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวง อุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย และวิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณาจากข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าแรงงานปรับตัวคืนถิ่นสู่ภาคการเกษตรระหว่างปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541 ดัชนี ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ดัชนีค่าจ้างที่แท้จริง และต้นทุนแรงงานต่อประสิทธิภาพแรงงานลดลงต่อเนื่องหลายปีจากการลดต้นทุนการผลิต การจ้างแรงงาน ในทุกอุตสาหกรรม ขณะนั้นภาคเกษตรกรรมมีผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่ลดลงส่งผลให้ภาคส่งออกขยายตัวขึ้นภาคอุตสาหกรรมปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแทนแรงงานเพิ่มขึ้น หมวดตัวกลางทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการขายส่งมีการจ้างงานมากที่สุดตามลำด้บ หมวดตัวกลางทางการเงินอสังหาริมทรัพย์ และการขนส่งได้รับค่าจ้างตัวเงิน และค่าจ้างที่แท้จริงสูงกว่าหมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ หมวดการก่อสร้าง ตัวกลางทางการเงิน และการขายส่งมีประสิทธิภาพของแรงงานสูง หมวดอสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง และการทำเหมืองแร่มีต้นทุนต่อประสิทธิภาพสูง ขณะที่หมวดอื่นๆ มีต้นทุนต่อ ประสิทธิภาพสูงขึ้นเนื่องมาจากการใช้เครื่องจักร เครื่องมือที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ต้นทุนต่อประสิทธิภาพแรงงานยิ่งสูงขึ้นเพราะต้องจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น แรงงานฝีมีอด้านก่อสร้าง มีทักษะทางด้านภาษาทั้งก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจยังคงขาดแคลน แรงงานนิยมมีสวัสดิการพนักงานที่มีมากกว่าการเรียกร้องค่าจ้าง ช่วงการฟื้นตัว ในปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543 ธุรกิจยังคงขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ และนิยมจ้างงานแบบเหมาช่วงเพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทันทีสรุปการปรับตัวของความต้องการแรงงานมีฝีมือที่เพิ่มขึ้นนอกภาคเกษตรตามการฟื้นตัวในปี 2543 ทำให้เกิดการปรับตัวของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษา (1) เชิงลึกรายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ประเทศได้เปรียบเพื่อให้มีการพัฒนาแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานจริง (2) การจ้างงานตํ่าระดับด้านการศึกษาาเพี่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรแรงงานของประเทศ (3) เชิงปริมาณ เช่นปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการย้ายถิ่นแรงงานต่อไป
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2490
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
85159.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons