กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2506
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thailand' s gemstone and jewelry industry export potentials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนีย์ ศิลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทราวดี ชัยเกษตรไพบูลย์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมอัญมณี -- ไทย
อุตสาหกรรมเครื่องประดับ -- ไทย
อุตสาหกรรมการส่งออก -- ไทย.
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาสภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรม อัญมณีไทยที่สำคัญ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการส่งออก 2. ศึกษาเพื่อวัดและประเมิน ศักยภาพในการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย วิธีการศึกษาและแหล่งข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลทุติยภูมิในปี พ.ศ.2540-2546 มาทำ การศึกษาและวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) ผลการวิจัยโดยการศึกษา 1. สภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับไทย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อ การส่งออกคือ การขาดความรู้หรือทักษะของแรงงาน ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ 2. การประเมิน ศักยภาพในการส่งออกโดยพิจารณาค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) พบว่า ประเทศไทย มี ค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเกิน 1 แสดงว่ารศักยภาพในการส่งออก แต่เมื่อพิจารณาค่าความ ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และอินเดีย พบว่าทั้ง 2 ประเทศมีค่า ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเกิน 1 เช่นกัน ยกเว้นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2544 – 2546 เนื่องจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีมูลค่าการส่งออกสินค้าทุกประเภท เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูง ส่วนประเทศอินเดียมีค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสูงที่สุด และเมื่อ พิจารณาภาพรวมพบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเท่านั้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมีความได้ เปรียบโดยเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงประเทศเดียว ผู้ประกอบการไทย จึงควรพัฒนาความรู้ทักษะฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน และการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เพื่อเป็นการ เพิ่มมูลค่าการส่งออกให้สูงขึ้น และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งมีความได้เปรียบใน ด้านจำนวนแรงงาน และค่าแรงที่ตํ่ากว่าไทย แต่ยังด้อยฝีมือทางด้านการเจียระไน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114601.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons