Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2602
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา ตั้งทางธรรมth_TH
dc.contributor.authorศิราณี สถิตย์, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-04T08:19:52Z-
dc.date.available2023-01-04T08:19:52Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2602en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปและแนวโน้มการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน โดยอาศัยการสร้างแบบจำลองในรูปสมการถดถอยที่ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส ระหว่างปื 2544-2551 ผลการศึกษาพบว่าสภาพทั่วไปและแนวโนัมการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2544 ถึง ปี 2549 แต่ในปี 2550 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลงจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะจากปัญหาสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยผู้ให้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง จนเกิดเป็นหนี้ที่ด้อยคุณภาพและถูกปฎิเสธการให้กู้จากสถาบันการเงินหลัก (Subprime Loans) รวมทั้งปัญหาวิกฤติการเงินของโลก แม้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดที่อยู่อาศัยของไทยแต่ส่งผลกระทบทางอ้อมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ตลาดทุนตกต่ำ การส่งออกและการท่องเที่ยวชะลอตัวลง กำลังซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนลดลง ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อมีแนวโน้มลดลง ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และส่งผลต่อเนื่องไปถึงปื 2552 มีความเสี่ยงด้านการชำระหนี้และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการมแนวโน้มชะลอการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยออกไป ทำให้ปี 2552 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอาจมีแนวโม้มลดลงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่ของธนาคารออมสิน คือ ปริมาณเงินฝากรวมของธนาคารออมสิน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกรณีดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน ส่วนอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมาก ที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รองลงมาได้แก่ ปริมาณเงินฝากรวมของธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจตามการปรับตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน โดยมีความยืดหยุ่นเท่ากับ 231 1.11 - 038 - 0.08 0.07 ตามลำดับ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สำหรับการปรับเงื่อนไขสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน ไม่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่ของธนาคารออมสินth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectธนาคารออมสินth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสินเชื่อ--ไทยth_TH
dc.subjectที่อยู่อาศัยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสินth_TH
dc.title.alternativeStudy of factors affecting housing loans of government savings banken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128457.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons