Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2672
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกะเปอร์ จำกัด จังหวัดระนอง
Other Titles: Factors related to the unpaid loan of the Kapaur Agricultural Cooperative Limited's Members, Ranong Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินาถ นามจันทร์ 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
หนี้--การจัดการ
เกษตรกร--ไทย--ระนอง
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลเชิงเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกะเปอร์ จำกัด (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกะเปอร์ จำกัด จังหวัดระนอง ประชากรที่ศึกษาคือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกะเปอร์ จำกัด ที่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 จำนวน 66 ราย67 สัญญา และสมาชิกที่เป็นหนี้เงินกู้ระยะปานกลางค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550จำนวน 22 ราย 22 สัญญา รวม 88 ราย 89 สัญ ญา เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการเรียงลำดับลูกหนี้เ งินกู้ตามเลขที่สัญญาและใช้วิธีเลือกสัญญาเว้นสัญญาโดยการจับฉลาก ครั้งแรกได้หมายเลข 2 จึงเริ่ม การสุ่มตัวอย่างจากสัญญาที่ 2 ซึ่งจะได้กลุ่ม ตัวอย่างลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้น จำนวน 33 ราย ส่วนลูกหนี้เงินกู้ระยะปานกลางศึกษาทั้ง 22 ราย รวมขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 55 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 - 31 มีนาคม 2551 การวิเ คราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส์าเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุสัมประสิทธ์ การตัดสิใจเชิงพหุ (R2) และการทดสอบค่าที (t- test) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกะเปอร์ จำกัด จังหวัดระนอง ได้แก่ ปัจจัยต้านการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยตัวแปรอิสระที่สัมพันธ์กับหนี้ค้้างชำระอย่างมีนัยส์าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือประธานกลุ่ม /เลขานุการกลุ่ม ไม่ไต้ติดตามทวงหนี้อย่างต่อเนื่อง และการขาดการประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก ทั้งนี้ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 57.60 และปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมศึอมีเงินกู้นอกระบบมากกว่าหนี้ในระบบ โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 33.10
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2672
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-114800.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons