Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2685
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนการเดินรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเปรียบเทียบกับการใช้ก๊าซธรรมชาติขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1
Other Titles: An analysis cost for air conditioned buses used oil compare with NGV of Bangkok Mass Transit Authority Zone 1
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณี ลีลาธนาวิทย์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
รถประจำทาง -- การใช้เชื้อเพลิง -- ต้นทุน
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างต้นทุนการเดินรถโดยสารประจำทางของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1 (2) ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการเดินรถโดยสารประจำทางของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1 ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับก๊าซธรรมชาติ (3) ศึกษาปัญหาและ อุปสรรคในการเดินรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 1 วิธีการศึกษา โครงสร้างต้นทุนการเดินรถโดยสารประจำทางโดยใช้ทฤษฏีต้นทุนการผลิต ข้อมูลที่ ใช้ในการศึกษา คือ งบกำไรขาดทุน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปีงบประมาณ 2551 การเปรียบเทียบต้นทุน การเดินรถโดยสารที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับก๊าซธรรมชาติวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยต้นทุน แปรผันเฉลี่ยและต้นทุนคงที่เฉลี่ย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารเขตการเดินรถที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า (1) โครงสร้างต้นทุนของรถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สัดส่วนของต้นทุนคงที่ ทั้งหมดต่ำกว่ารถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ แต่สัดส่วนต้นทุนแปรผันทั้งหมด รถที่ใช้น้ำมันสูงกว่ารถใช้ก๊าซธรรมชาติ กล่าวคือ ต้นทุนการเดินรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สาย 59 มีต้นทุนคงที่ทั้งหมด 27,539,600 บาท หรือร้อยละ 33.69 และต้นทุนแปรผันทั้งหมด 54,193337 บาท หรือร้อยละ 66.31 รถโดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซ ธรรมชาติ สาย 503 มีต้นทุนคงที่ทั้งหมด 22,612,213 บาท หรือร้อยละ 44.07 และต้นทุนแปรผันทั้งหมด 28,697,078 บาท หรือร้อยละ 55.93 (2) การเปรียบเทียบต้นทุนเฉลี่ยต่อคันต่อวัน ต้นทุนเฉลี่ยต่อกิโลเมตร ต้นทุน เฉลี่ยต่อเที่ยววิ่ง และต้นทุนเฉลี่ยต่อผู้โดยสารพบว่าทั้ง 4 รายการรถที่ใช้น้ำมันเชี้อเพลิงมีต้นทุนสูงกว่ารถที่ใช้ ก๊าซธรรมชาติทุกรายการ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน กล่าวคือ ต้นทุนเฉลี่ยต่อคันต่อวัน รถที่ใช้น้ำมัน 14,035.15 บาทต่อคันต่อวัน รถที่ใช้ก๊าซ 8,541.11 บาทต่อคันต่อวัน ต่างกัน 5,494.04 บาทต่อคันต่อวัน ต้นทุนเฉลี่ยต่อ กิโลเมตร รถที่ใช้น้ำมัน 53.32 บาทส่อกิโลเมตรรถที่ใช้ก๊าซ 40.92 บาทต่อกิโลเมตร ต่างกัน 12.40 บาทต่อ กิโลเมตร ต้นทุนเฉลี่ยต่อเที่ยววิ่ง รถที่ใช้น้ำมัน 2,131.57 บาทต่อเที่ยว รถที่ใช้ก๊าซ 1,645.57 บาทต่อเที่ยว ต่างกัน 486.00 บาทต่อเที่ยว ต้นทุนเฉลี่ยต่อผู้โดยสาร รถที่ใช้น้ำมัน 38.88 บาท ต่อผู้โดยสาร รถที่ใช้ก๊าซ 29.48 บาทต่อ ผู้โดยสารต่างกัน 9.41 บาทต่อผู้โดยสาร (3) ปัญหาในการเดินรถโดยสารประจำทางที่ใช้น้ำมัน สาย 59 คือ ราคา น้ำมันสูงที่ให้ต้นทุนแปรผันสูง และรถที่ใช้ก๊าซ สาย 503 รถมีสภาพเก่าอายุการใช้งานนาน ส่วนอุปสรรคของ การเดินรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เกิดจากรัฐบาลควบคุมอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุน รวมเฉลี่ยและต้นทุนแปรผันเฉลี่ยทำให้การดำเนินงานขาดทุน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2685
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127192.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons