Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2688
Title: | การวิเคราะห์การดำเนินงานและปัจจัยกำหนดสินเชื่อที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาธนาคารอาคารสงเคราะห์ |
Other Titles: | Aanalysis of bank operation and housing loan determinants : a case study of Government Housing Bank |
Authors: | กาญจนี กังวานพรศิริ สุขุมาล พวงคต, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สินเชื่อที่อยู่อาศัย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (2) ศึกษาปัจจัยกำหนดอุปทานสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยได้ทำการเก็บข้อมูลทุติยภูมิรายปีระหว่างปี 2529-2549 จากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณาและเชิงปริมาณ ชึ่งเป็นการสร้างแบบจำลองในรูปแบบสมการถดถอยเชิงซ้อน เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดอุปทานสินเชื่อและประมาณการค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น โดยแยกเป็นสินเชื่อบุคคลทั่วไป และสินเชื่อบุคคลโครงการ ส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 39.2ในขณะที่ธนาคารรับฝากเงินจากบุคคลทั่วไป บริษัทต่างๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงินฝาก 4ประเภท คือ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากสินเคหะและเงินฝากประจำ โดยเงินฝากมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 78.2 ของแหล่งเงินทุนทั่งหมดในปี 2549 ในการระดมเงินฝากธนาคารใช้กลยุทธ์เสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไปผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้แก่ตัวแปรรายได้ต่อคนต่อปี ชึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนปริมาณเงินฝากรวม และปริมาณเงินกู้ยืม ต่างมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ปัจจัยอีก 3 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เงินสำรองตามกฎหมาย และอัตราเงินเฟ้อ ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2688 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119396.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License