Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2695
Title: การเลือกสาขาเศรษฐกิจสำคัญสำหรับการพัฒนาจังหวัดระยอง : วิเคราะห์โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตจังหวัดระยอง
Other Titles: Identification of key economic sectors for Rayong Province development : Rayong innput-output analysis
Authors: ศิริพร สัจจานันท์
สุคนธ์ วิจิตรกุลสวัสดิ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพยากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจ--ไทย--ระยอง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประมาณค่าแบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของจังหวัดระยอง โดยการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การผลิตจากแบบจำลองปัจจัย การผลิต-ผลผลิตของประเทศไทย (2) ผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัดระยองโดยพิจารณาผลกระทบเชื่อมโยงด้านผลผลิต ด้านการจ้างงาน และด้านรายได้ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดระยอง (3) กำหนดแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง วิธีการวิจัยโดยใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของจังหวัดระยองและ ค่าสัมประสิทธิ์การผลิตของจังหวัดระยอง มาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัดระยอง โดยพิจารณาจากผลกระทบไปข้างหน้าและผลกระทบไปข้างหลัง ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์การผลิตของจังหวัดระยองมีค่าระหว่าง 0.000000-0.590401 โดยสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลมีค่าสัมประสิทธิ์มากที่สุด 2) ผลการเชื่อมโยงทางด้านการผลิตสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญที่สุดอันดับ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านผลผลิตเท่ากับ 6.343391 ผลการเชื่อมโยงทางด้านการจ้างงาน สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านการจ้างงานเท่ากับ 8.612439 และผลการเชื่อมโยงทางด้านรายได้ สาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านรายได้เท่ากับ 6.666961 3) การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยองภาครัฐควรให้การสนับสนุนส่งเสริมสาขาเศรษฐกิจที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโตของจังหวัดระยองมากที่สุด โดยพิจารณาจากผลความเชื่อมโยงโดยรวมทั้งหมดทุกๆ ด้านเข้าด้วยกัน จากการศึกษาพบว่าสาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) เป็นสาขาการผลิตที่ส่งผลการเชื่อมโยงทั้ง 3 ด้านมากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดระยองมีการเจริญเติบโตสูง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2695
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124449.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons