Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2696
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรมและปัญหาของผู้ประกอบการอุตหสาหกรรมในเขตจังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Factors affecting industry location and problems of industrial entrepreneur in Petchaburi Province
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชีพ ลี้ฐิตินันท์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงงาน -- สถานที่ตั้ง
อุตสาหกรรม -- สถานที่ตั้ง -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างทั่วไปของอุตสาหกรรมในจังหวัดเพชรบุรี 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดเพชรบุรี 3) ปัญหาที่เกิดจากการประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดเพชรบุรี วิธีวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย กลุ่มตัวอย่างโดยเลือก 161 โรงงานจากอุตสาหกรรมในจังหวัดเพชรบุรีซึ่งแบ่งประเภทอุตสาหกรรม 4 ประเภท คือ กลุ่ม 1 อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กลุ่ม 2 อุตสาหกรรมเบา กลุ่ม 3 อุตสาหกรรมหนัก กลุ่ม 4 อุตสาหกรรมการบริการและสาธารณูปโภค รวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์ของความผันแปร ผลการศึกษาพบว่า 1) อุตสาหกรรมในจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง เงินลงทุน 5-100 ล้านบาท การจ้างแรงงาน 50-200 คน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในระดับมากคือปัจจัยด้านเทคนิค รองลงมาคือปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านสังคม โดย กลุ่ม 1 อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตรเลือกแหล่งที่ตั้งโดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ กลุ่ม 2 อุตสาหกรรมเบาเลือกแหล่งที่ตั้งโดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเทคนิค กลุ่ม 3 อุตสาหกรรมหนักเลือกแหล่งที่ตั้งโดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเทคนิคซึ่งทั้ง 3 กลุ่มสอดคล้องกับสมมติฐาน ส่วน กลุ่ม 4 อุตสาหกรรมการบริการและสาธารณูปโภคเลือกแหล่งที่ตั้งโดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน 3) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบการอุตสาหกรรมคือปัญหาด้านการผลิตซึ่งเกิดจากปัญหาวัตถุดิบมีราคาแพงและไม่ได้มาตรฐาน อัตราค่าจ้างแรงงานสูงเกินไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2696
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124229.pdfเอกสาฉบับเต็ม2.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons