Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรินทร์ เทศวานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภานีย์ ปรีชาโชติ, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-16T08:32:18Z-
dc.date.available2023-01-16T08:32:18Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2715-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคมของเกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันรายย่อย ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช (2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ป่าพรุและพื้นที่ น้ำกร่อย (3 ) วิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ในการ เก็บข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อย พื้นที่ปลูก 20 ไร่ จำนวน 87 ราย นำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบ 2 กรณี (1) กรณีพื้นที่ป่าพรุ (2) กรณีพื้นที่น้ำกร่อย ใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการลงทุน มี 3 ตัวชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผล ประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) โดยกำหนดอัตราคิด ลดร้อยละ 5 และ 12 ผลการศึกษา ในเขตพื้นที่ป่าพรุ พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของโครง การ เท่ากับ 997,925.76 และ 404,397.32 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.67 และ 1.21 อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 17.20 และ 7.54 ต่อปี ในเขตพื้นที่น้ำกร่อย พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของโครงการ 329,861.85 และ 25,386.79 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.39 และ 1.02 อัตราผลตอบแทนภายในของ การลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 9.87 และ 0.79 ต่อปี จะเห็นว่าการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ป่าพรุให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าในเขตพื้นที่น้ำกร่อย และหากเกษตรกรลงทุนด้วยเงินฝาก ณ ระดับ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปื การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในลุ่มน้ำปากพนังให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทั้ง การปลูกในเขตพื้นที่ป่าพรุและน้ำกร่อย แต่หากเกษตรกรนำเงินกู้มาลงทุน ณ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี จะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าทั้งสองพื้นที่ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการภายใต้ เงื่อนไขต่างๆ ทั้งค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และรายได้ลดลง ปรากฎว่าการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันมีความ เสี่ยงสูง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่น้ำกร่อย ควรระมัดระวังเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectปาล์มน้ำมัน -- ไทย -- นครศรีธรรมราชth_TH
dc.subjectปาล์มน้ำมัน -- ต้นทุนth_TH
dc.subjectปาล์มน้ำมัน -- การลงทุนth_TH
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeCost-benefit analysis of palm for oil investment in Pak Phanang Basin, Nakhon Si Thammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122360.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons