Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2741
Title: | การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Analysis ot the operation and financial statement of Ban Mee Agricultural Cooperatives Limited, Lopburi Province |
Authors: | ปัญญา หิรัญรัศมี ประดิษฐ์ จันทร์สุภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่--การจัดการ สหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่--การเงิน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์สหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัด ลพบุรี 2) เพื่อศึกษาและนำแนวคิด Balanced Scorecard มาใช้วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสหกรณ์สหกรณ์ การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัดลพบุรี 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานของสหกรณ์สหกรณ์ การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัดลพบุรี ข้อมูลที่ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับ คณะกรรมการฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์และเก็บรวบรวมจากเอกสารรายงานกิจการประจำปีของสหกรณ์และรายงานงบ การเงินของผู้สอบบัญชีประจำปี ในปีบัญชี 2547-2550 ระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ เอกสารเกี่ยวกับสภาพ ทั่วไปของสหกรณ์เอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฏี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผลการวิจัยการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรบ้านหมี่ จำกัด จังหวัดลพบุรีพบว่า 1) ด้านการเงินสหกรณ์มีโครงสร้างของทุนดำเนินงาน ส่วนใหญ่มาจากทุนของสหกรณ์เอง ถึอว่าเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแกร่ง มีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการกับสมาชิกอย่างทั่วถึง สหกรณ์ได้นำเงินทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนระยะยาวและระยะสั้น ที่มีมั่นคง และความเสื่ยงน้อย สหกรณ์ยังใชัเวทีในการเชื่อมโยงเครึอข่ายธุรกิจในการนำเงินไปฝากกับสหกรณ์อื่น ซึ่งได้รับผลตอบแทนสูงกว่านำไปฝากกับ ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้นได้ดีสหกรณ์มีความน่าเชื่อถือสำหรับเจ้าหน้าที่ มีวิธีการจัดเก็บเงินจากลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินทุนเหลือจากการทำธุรกิจ สามารถนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสหกรณ์และยังมีอัตรากำไรสุทธิสูงกว่าเกณฑ์อัตราส่วนมาตรฐานของกลุ่ม ซึ่งแสดงว่าสหกรณ์ดำเนินงานอย่างมีประสทธิภาพ แต่อัตรากำไรสุทธิมีแนวโนมลดลง 2) ด้านกระบวนการภายในสหกรณ์ไม่มีค่านิยมร่วมจะมีเพียงแต่แผนงานเป้าหมายองค์กรวิสัยทัศน์ กลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติงานร่วมกันเท่านั้น หากสหกรณ์มี (Share Value) หรือคุณค่าร่วนกันของสมาชิกก็จะเป็นศักยภาพภายในที่ทรงพลังจะขับเคลื่อนสหกรณ์โดยคนในสหกรณ์ทุกฝ่าย นับตั้งแต่สมาชิก เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการดำเนินการ ให้สู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2741 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113555 (2).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License