Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2783
Title: | การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของการเดินทางโดยสารเครื่องบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | Analysis of factors effecting the demand of travel by air in domestic of Thai Airways International Public Company Limited |
Authors: | สุภาสินี ตันติศรีสุข สมยศ สุดใจ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สายการบิน--ไทย--การเดินทาง--อุปทานและอุปสงค์ การศึกษาอิสระ-- เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของการเดินทางโดยสารเครื่องบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (2) เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นอุปสงค์ที่มีผลต่อการใช้บริการโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ ของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) (3) ศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรคของการใช้บริการโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ ของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูล ปริมาณผู้โดยสารโดยสารเครื่องบิน, ค่าผลิตภัณฑ์ต่อคน, จำนวนประชากร, ราคาค่าโดยสารเครื่องบิน, และระยะเวลาเฉลี่ยที่ประหยัดได้จากการเดินทางโดยสารเครื่องบิน ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2546 ของเส้นทางการบิน 3 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ กรุงเทพฯ – สงขลา (หาดใหญ่) และกรุงเทพฯ – ภูเก็ต โดยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติด้วยสมการถดถอยพหุคูณ โดยวิธี OLS (Ordinary Least Square) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของการเดินทางโดยสารเครื่องบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) คือ ค่าผลิตภัณฑ์ต่อหัว จำนวนประชากร และราคาค่าโดยสารเครื่องบิน (2) ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้บริการ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ของการเดินทางโดยสารเครื่องบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีผลต่อ ค่าผลิตภัณฑ์ต่อคน, จำนวนประชากรและราคาค่าโดยสารเครื่องบิน (2) การใช้บริการโดยสารเครื่องบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) เนื่องจากมีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ เป็นบวกและมีค่ามากกว่า 1 คือ 11.823 , 5.163 และ 8.625 ตามลำดับ (3) ปัจจุบันประเทศไทยมีสายการบินที่ให้บริการภายในประเทศหลายสายการบินและมีการแข่งขันทางด้านราคาและบริการสูง การนำตัวกำหนดอุปสงค์มาประยุกต์ใช้ ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2783 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License