Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2916
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวินิจ เทือกทองth_TH
dc.contributor.authorปนัดดา บุญปัญญา, 2534-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-29T04:01:03Z-
dc.date.available2023-01-29T04:01:03Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2916en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจไฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 185 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power 3.1 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ (2) แบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (3) แบบสอบถามแรงจูงใจไฝสัมฤทธิ์ และ(4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามและแบบทดสอบ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.965, 0.955, 0.945 และ 0.818 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.522, 0.550 และ 0.494 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ และ (2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ร่วมกันอภิปรายความแปรปรวนของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 34.4 ซึ่งมีขนาดปานกลางและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมการถดถอยรูปคะแนนดิบ และสมการถดถอยรูปคะแนนมาตรฐานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอนth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting ability to solve mathematical problems of Mathayom Suksa II studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study relationships of the mathematical self-efficacy, attitude towards mathematics, and achievement motivation with mathematical problem solving ability of Mathayom Suksa II students, and (2) to create a prediction equation for mathematical problem solving ability of Mathayom Suksa II students. The research sample consisted of 185 Mathayom Suksa II students of Mathayom Wat Sing School in Bangkok Metropolis in the academic year 2020, set by G*Power 3.1 program. The students were obtained by stratified random sampling. The research instruments were (1) a mathematical self-efficacy questionnaire, (2) an attitude towards mathematics questionnaire, (3) an achievement motivation questionnaire, and (4) a mathematical problem solving ability test. The instrument reliability values analyzed by Cronbach's alpha coefficient formula were 0.965, 0.955, 0.945, and 0.818 respectively. The statistics for data analysis were descriptive statistics, correlation coefficient, and hierarchical stepwise multiple regression analysis. The research findings revealed that (1) the relationships of the mathematical self-efficacy, attitude towards mathematics, and achievement motivation with mathematical problem solving ability were 0.522, 0.550, and 0.494 respectively. All of which were statistically significant at the .01 level, and (2) results of hierarchical stepwise multiple regression analysis showed that the three independent variables could be combined to explain the variance of the mathematical problem solving ability by 34.4 percent which was at the moderate and statistically significant at the .01 level. The prediction equations in raw score form and standard score form were as follows: abi -1.229+ 0.122 (att) +0.142 (eff) +0.106 (moti) z abi 0.241 (z att) +0.209(z 0.206) (z eff)+0.206(z moti).en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_164613.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons