Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรรณวินีย์ มรม่วง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-01-30T02:45:25Z-
dc.date.available2023-01-30T02:45:25Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2931-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และทางสังคม ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อการออมของสมาชิก สหกรณ์การเกษตร 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยด้านสหกรณ์กับการ ออมเงินของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการออมของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองพิจิตร จำกัด ที่ออมเงินกับสหกรณ์ จำนวน 809 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 1- 5 ปี รายได้ของครัวเรือนอยู่ในช่วง 10,001 ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนอยู่ในช่วง 5,001 ถึง 10,000 บาทต่อเดือน จำนวน สมาชิกในครอบครัวมากกว่า 3 คน ผู้มีรายได้ในครอบครัว 2 คน และมีวัตถุประสงค์การออมเพื่อเก็บไว้ใช้ จ่ายยามฉุกเฉิน 2) ปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อการออม ซึ่งสมาชิกให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่อัตรา ดอกเบี้ย รองลงมาคือ ความมั่นใจที่สมาชิกจะได้เงินคืนอย่างแน่นอน และสามารถฝากหรือถอนได้เมื่อครบ กำหนด ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการออมของสมาชิก คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบไป ด้วย เพศและระยะเวลาการเป็นสมาชิก ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย รายได้และรายจ่ายของ ครัวเรือนต่อเดือน ปัจจัยทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์การออมและจำนวนผู้มีเงินได้ ในครอบครัว ปัจจัยด้านสหกรณ์ ซึ่งประกอบ ไปด้วย สิ่งจูงใจในการออม ความพร้อมของสหกรณ์และการ โฆษณาประชาสัมพันธ์โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัญหาในการออมของสมาชิกสหกรณ์ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การเลี้ยงดูครอบครัว และรายได้ไม่เพียงพอ สมาชิกสหกรณ์มีข้อเสนอแนะ ให้สหกรณ์ควรส่งเสริมให้สมาชิกประหยัดและอดออมรวมทั้งแนะนำอาชีพเสริมรายได้แก่ครัวเรือน สมาชิกเพื่อนำไปสู่การออมเพิ่มขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์การเกษตร--การออมth_TH
dc.subjectการประหยัดและการออม--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองพิจิตร จำกัดth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the members' savings of Mueang Phichit Agricultural Co-operatives, Ltd.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives were to study 1) individual, economic, and social factors of the members of agricultural co-operatives, 2) the significant level of factors affecting the members of agricultural co-operatives, 3) the relationship among individual, economic, and social factors as well as co-operatives factors and members’ saving of agricultural co-operatives, 4) problems and suggestions of the members of agricultural co-operatives on savings. The population in this study was comprised 809 members who saved their own money with Mueang Phichit Agricultural Co-operatives Ltd. Sample size was determined by simple random sampling technique consisting 268 samples. According to data analysis, statistical methodology was applied including frequency, percentage, mean, standard deviation and Chi-square test. The study findings revealed that 1) the majority of members was female, older than 51 years old with marriage status. They finished primary education and served as the member of co-operatives at the period of 1 to 5 years. The range of household income from 10,000 to 15,000 baht per month, meanwhile, the range of household expenses from 5,001 to 10,000 baht per month. The family members were more than three persons while only two persons had made household income. The main objective of saving was for an accidental expense. 2) Most important co-operatives factor affecting the saving was interest rate, as perceived by the members. The other factors were the guarantee to get the saving back and the certain time of deposit and withdrawal respectively. 3) Factors relating to the members’ saving, statistically significant at .05 level, the individual factors were comprised of gender and period of membership; economic factors included household income and expenses; social factors were saving objective and number of household number earning income; and saving incentive, readiness of co-operatives, public relations were the cooperatives factors. Hence 4) current economic situations, family expenses and insufficient income were problems of the members for savings. They suggested that the co-operatives should have promotion program for savings and create additional occupations for increasing the savingsen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146592.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons