Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/293
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorประกาย วิบูลย์วิภา, 2502- อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุจารี ตั้งเสงี่ยมวิสัย, 2497--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-06T08:00:36Z-
dc.date.available2022-08-06T08:00:36Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/293-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงการคุ้มครองสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 ของคนไทยเปรียบเทียบกับการคุ้มครองสุขภาพตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีมาแต่เดิมอันได้แก่พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และสิทธิอื่นๆ เป็นต้น 2) ทราบถึงระบบสุขภาพ และแนวทางมาตรฐานของต่างประเทศเช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์์ให้เห็นแนวทางที่เหมาะสม สําหรับการนํามาปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพของไทยในการให้ความคุ้มครองสุขภาพของประชาชนคนไทย ให้มีความเป็นธรรมและเสมอภาคยิ่งขึ้น 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดทำร่างกฎหมายประกันสุขภาพของประเทศไทย อย่างเหมาะสมในอนาคตเมื่อมีการพัฒนา หรือปฏิรูปการดำเนินงานทางด้านระบบสุขภาพเพื่่อให้มีความเท่าเทียมกันและช่วยลดความเหลี่ยมล้ำในการรับบริการทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนทุกๆ กลุ่มในประเทศ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่่การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยวิธีการรวบรวมเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งได้แก่่ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา บทความ งานวิจัยวิทยานิพนธ์ หนังสือ ตําราเอกสารในรูปแบบอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งแหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนำข้อมูลมาแยกแยะ จัดเป็นหมวดหมู่โดยทำการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับประเด็นที่่ได้ตั้งเอาไว้ ผลการศึกษา พบว่า 1) กฎหมายประกันสุขภาพของทั้ง 3 ระบบใหญ่ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมาก มีความเหลื่อมล้ำของ ทั้งระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากปัญหา ที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางด้านเงินงบประมาณ ซึ่งมีให้อย่างจำกัด ประกอบกับหลักเกณฑ์ ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวงกฎระเบียบ ยังไม่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ยังมีความแตกต่างกัน ไม่เป็นเอกภาพ ขาดความชัดเจน ขาดความเป็นรูปธรรมของการบริการ 2) ระบบสุขภาพของต่างประเทศพบวา่ ประเทศไต้หวัน มีสิ่งที่ไทยน่าจะนํามาประยุกต์ใช้ได้กับกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทย กล่าวคือ การที่ไต้หวันได้รวบรวมเอากฎหมายประกันสุภาพต่างๆ ที่มีอยู่แต่เดิมทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ และไม่อยู่ภายใต้ เงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพอื่นใด โดยให้สิทธิประโยชน์มากกว่าระบบประกันสุขภาพแบบเดิม ที่มีอยู่มีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบ คุณภาพการให้บริการที่ดีพอและวางระบบการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่เป็นธรรม และคล่องตัว 3) ควรจัดระบบประกันสุขภาพเป็นระบบเดียวโดยมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน หรือระบบประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้บุคคล ทุกกลุ่ม อย่างครอบคลุมกันทั้งประเทศ แต่อาจแตกต่างกันที่รายละเอียด หรือให้ผู้ใช้สิทธิรักษาฟรีเดิม แต่อาจจ่ายเงินเพิ่ม โดยให้สิทธิประโยชน์มากกว่าระบบประกันสุขภาพแบบเดิมที่มีอยู่ในแต่ละรูปแบบการรักษาการออกพระราชกฤษฎีกา ให้มีการยุบรวมเป็นระบบเดียวที่มีเอกภาพ จะทำให้ง่ายในการบริหารจัดการ แต่หากยุบรวมไม่่ได้ก็ต้องมีการกำหนดมาตรฐานการรักษาขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน หรืออาจจะต้องทำให้ทุกระบบ มีระบบการบริหารจัดการ และมีสิทธิประโยชน์ที่เหมือนกันได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสุขภาพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการบริการสุขภาพของไทยตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กับการบริการสุขภาพตามกฎหมายอื่น และการบริการสุขภาพของต่างประเทศth_TH
dc.title.alternativeA Comparative study of Thai health service under the National Healh Act B. E. 2545 and the other health service acrs and some other countries health serviceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study are 1) to understand Health protection according to the Thailand's National Health Security Act (2002) and compare with other Health Protection Acts that was formerly existed, for example, the Social Security Act, the Royal Decree of government official's health protection, etc. 2) to understand health systems and International standard of other countries such as the United Kingdom, Japan, Taiwan in order to analyze the appropriate guideline for improving Thailand's National Health Security Act for the purpose of protecting Thai citizens' health with fair and greater equality 3) to propose guidance for preparing the draft of Thailand’s National health Security Laws in the future once there will be health systems development or reformation in order to reduce disparities and provide the equality in the health care service to all citizens in the country This research is a qualitative research (documentary research) by collecting the documents from various sources which are acts, researches, thesis, articles, textbooks, and documents in other formats from Thailand and International sources including Information on the internet. The information and data were organized as a separate category and have been conducted the systematic study and analysis in order to be consistent with the set topic This study shows that 1) Health Protection Acts of the three systems are totally different, Social Security, Government Officer Welfare and Universal Health Care Coverage. The problems caused by a limited budget as well as the inconsistency of non-methodical laws and regulations, also lack of unity, clarity and concrete of service. 2) Due to health care system in Taiwan, they gather all of the Health Protection Acts to come underneath the Nation Health Security which was not involved with any health laws and give more benefit by controlling, checking service quality and make money's plan for the hospital by fairness and more flow. So that Thailand should adapt those systems to combine with Health Protection Acts of Thailand. 3) They need to systemize the Health Care system into one system based on National health security and equality to all people in the country; it might have some different details such as who want to have more privileges need to pay more money in a new system. In order to easily execute the law and being unity, the royal decree should combine all the laws into one system , but if it is unable to take any actions, then it is necessary to lay down a rule of Health care standard or set all systems to be equal, to streamline the health system to be more effective and even servicesen_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib133786.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons