Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโอภาวดี เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมณีรัตน์ สิงหรา ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-02T04:23:02Z-
dc.date.available2023-02-02T04:23:02Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2995-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด 2) ศึกษาปัจจัยด้านข้อมูลพื้นฐานของ ผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด และ 3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้ จำนวน 150 คน ใด้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่มาเดินในงานมหกรรมสินค้า สหกรณ์แสะกลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่ 26 - 30 มีนาคม 2552 ณ ตลาดสหกรณ์ (ส่านักงานสหกรณ์ วังหวัดปทุมธานี จ.ปทุมธานี) จำนวน 120 ราย และ กลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อข้าวหอมมะลิที่ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด จ.บุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการรวบรวมแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิง อนุมานได้แก่ Independent Sample t-test และ one-way ANOVA หรือ f-test สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด พบว่า โดยภาพรวมผู้บริโภคพึงพอใจ ในระดับ มาก (2) ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ จำนวนสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิชุมนุมสหกรณ์การเกษตร บุรีรัมย์ จำกัด ใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านเอกลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ ด้านข้อความบนบรรจุภัณฑ์ ด้านสัญลักษณ์มาตรฐานบน บรรจุภัณฑ์ ด้านขนาดของบรรจุภัณฑ์ ด้านสีของบรรจุภัณฑ์และด้านวัสดุของบรรจุภัณฑ์ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์จำกัด ด้านรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ (3) ผลการศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาบรรจุภัณฑ์พบว่า วัสดุของบรรจุภัณฑ์ซึ่งใส สามารถมองเห็นเมล็ด ข้าวและแพ็คสูญญากาศทำให้สามารถเก็บได้นาน มีมาตรฐาน สวยงาม ดูเป็นสินค้าคุณภาพดี รูปทรงของบรรจุภัณฑ์มีหู หิ้วในตัวทำให้ง่ายต่อการพกพา แต่ในส่วนสัญลักษณ์ ชุมนุม สื่อได้ช้า เนื่องจากเป็นอักษรประดิษฐ์ ทำให้อ่านยากจึง ควรให้ความสำคัญของการสรัาง Brand แบบมีภาพประกอบ จะมีประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับตรา สินค้า ทัศนคติต่อตร้าสินค้า ทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์และความตั้งใจซื้อไปในทางบวก ข้อความด้านหลังบรรจุภัณฑ์ ควร แบ่งเป็นช่วงๆ เป็นช่องๆ ง่ายต่อการอ่านมากขึ้น สีของบรรจุมีสีเขียวสีเดียวซึ่งดูกลมกลืนเกินไป อีกทั้งควรพัฒนาขนาด ของบรรจุภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น เช่น บรรจุถุงปริมาณ 450 กรัมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectข้าว--การบรรจุหีบห่อth_TH
dc.titleความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัดth_TH
dc.title.alternativeConsumers' satisfaction toward packing model of HomMali rice from the Buriram Agricultural Cooperatives Federation Ltd.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
121951.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons