Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3040
Title: แนวทางการพัฒนาการผลิตหอมแดงในระดับเกษตรกรรายย่อยของพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Developmen guidelines for shallot production by small-scale farmers in Kantharalak District of Si Sa Ket Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญา ศรีดาพันธ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
หอมแดง--การปลูก
หอมแดง--การผลิต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในพื้นที่ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) การจัดการในกระบวนการผลิตหอมแดง ในพื้นที่ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) ส่วนประสมทางการตลาดในกระบวนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในพื้นที่ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 4) แนวทางพัฒนาการจัดการในกระบวนการผลิตหอมแดง ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.29 ปี เกษตรกรร้อยละ 74.5 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพการเกษตร เกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.83 คน รายได้จากการขายผลผลิตหอมแดงในฤดูเฉลี่ยต่อไร่ ปีละ 15,481.27 บาท ร้อยละ 82.7 ใช้เงินทุนตนเองในการผลิตหอมแดง พื้นที่ในการปลูกหอมแดงทั้งหมดเป็นของตัวเอง มีพื้นที่เฉลี่ย 6.74 ไร่ 2) การจัดการในกระบวนการผลิตหอมแดง ที่ดินส่วนใหญ่ที่เกษตรกรเพาะปลูกหอมแดงเป็นดินร่วนปนทราย เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง โดยไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกระหว่างเตรียมดิน ใช้พันธุ์ศรีสะเกษ ปลูกด้วยหัวพันธุ์ ใช้ฟางคลุมแปลง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 โรยแล้วไถกลบ อัตรา 50 กก./ไร่ และในระยะแตกกอใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 โรยใส่แปลง ในอัตรา 50 กก./ไร่ ให้น้ำด้วยสายยาง 2 ครั้ง/วัน มีการสำรวจโรค-แมลงศัตรูพืชและป้องกันโดยฉีดพ่นสารเคมี ใช้จำนวนวันเพาะปลูกเป็นตัวชี้วัดในการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวโดยการถอนด้วยมือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 3) ส่วนประสมทางการตลาดในกระบวนการผลิต พบว่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,637.5 กก./ไร่ มีการคัดคุณภาพผลผลิต คุณภาพผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง กำหนดราคาตามราคาตลาด ขายผลผลิตในราคา 10 บาท/กก. พ่อค้าเป็นผู้เก็บผลผลิตเอง และขายหลังเก็บเกี่ยวทันทีให้พ่อค้าในท้องถิ่นซึ่งจะมารับถึงสวน ขายหอมแดงตามน้ำหนักซึ่งเกษตรกรจะทราบว่าพ่อค้าจะนำหอมแดงไปขายต่อตามท้องถิ่น 4) แนวทางพัฒนาการจัดการในกระบวนการผลิตหอมแดง ได้แก่ การสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกระหว่างเตรียมดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การลดการใช้สารเคมี รณรงค์ให้เกษตรกรใช้สารชีวภาพนำไปสู่การผลิตพืชปลอดภัย การบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ตลอดการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกหอมแดงเพื่อใช้ข้อมูลในการกำหนดแผนและนโยบายต่างๆของรัฐ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3040
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146091.pdfเอกสารฉบับเต็ม11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons