Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวราภรณ์ ตริเทพ, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-08T04:41:25Z-
dc.date.available2022-08-08T04:41:25Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/312-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คติความเชื่อและพิธีกรรมในการท านาของชาวอีสาน (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีผลต่อคติความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาของชาวอีสาน (3) ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีผลต่อคติความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาของชาวอีสาน (4) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนา ที่มีผลต่อวิถีชีวิตชาวนาอีสานในตำบลย่อ อำเภอคำาเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอยางที่เป็ นผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้และผู้ประกอบพิธีเกี่ยวกับคติ ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาในตำาบลย่อ จำนวน 11 คน ผู้นำท้องถิ่น จ านวน 11 คน ชาวนาในตำบลย่อ จ านวน 22 คน รวมทั้งสิ้น 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบวา ( 1) ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาของชาวอีสานในตำบลย่อ ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดต่อกันมาในแต่ละครอบครัวเช่น การเลี้ยงผีปู่ ตา การทำบุญบั้งไฟ การแห่นางแมว การแห่ข้าวพันก้อน พิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้สะท้อนถึงความเชื่อในเรื่องผีและอำานาจเหนือธรรมชาติของชาวอีสาน และมีความเชื่อวาพิธีกรรมเหล่านี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนา (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคติความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนา ของชาวอีสานในตำบลย่อช่วงระยะเวลาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา โดยแบ่งเป็นช่วงเวลา 2 ช่วงเวลา ดังนี้ 1) ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 – ช่วงโครงการอีสานเขียว เป็นสังคมเกษตรกรรมการผลิตเป็นไปเพื่อการเลี้ยงตนเอง ระบบการผลิตมีการพึ่งพาธรรมชาติเป็ นหลัก 2) ช่วงหลังโครงการอีสานเขียว – พ.ศ.2556 ชาวนาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำานาจากนาดำมาเป็นนาหว่าน ทำให้ ขั้นตอนการทำนาเปลี่ยนไป ชาวนาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแทนการปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิม (3) ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคติความเชื่อและพิธีกรรมมีสาเหตุมาจาก การตอบสนองนโยบาย ของรัฐที่ต้องการพัฒนาวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเผยแพร่ในหมู่บ้าน (4) ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาทำให้หมู่บ้านที่เคยมีสภาพความเป็นอยู่แบบง่ายๆและมี เศรษฐกิจแบบยังชีพ กลายมาเป็นหมู่บ้านที่เน้นการผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งกลายเป็นระบบเศรษฐกิจแบบการค้า จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำาให้หมู่บ้านเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยทางด้านวัตถุมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการทำนา--พิธีกรรมth_TH
dc.subjectชาวนา--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)th_TH
dc.titleคติความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาของชาวอีสาน : กรณีศึกษา ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธรth_TH
dc.title.alternativeBeliefs and rituals in rice production of Isan people: a case study of the Yo Sub-district of KamKhueanKaeo District, Yasothon Provinceen_US
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155148.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons