Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3134
Title: | การดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเขตที่ 6 กรมส่งเสริมการเกษตร |
Other Titles: | The operations adhering to new dimension of agricultural extension system by Agricultural Extensionists in Division 6 of Agricultural Extension Department |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชุติกาญจน์ คำนา, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร--การบริหาร |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (MRCF) กี่ยวกับ 1) สภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ 3) การปฏิบัติตามส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ 5) ความต้องการการสนับสนุนในการดำเนินงานตามส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุเฉลี่ย 32.82 ปี ร้อยละ 75.10 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสดและสมรสมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 46.99 และ42.57 ตามลำดับ ร้อยละ 44.98 เป็นข้าราชการระดับชำนาญการอายุราชการเฉลี่ย 12.77 ปี ประสบการณ์ด้านการส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 11.36 ปี ระยะเวลาการปฏิบัติงานี้เป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 9.67 ปี จำนวนตำบลที่รับผิดชอบคนละ 2 ตำบล ระยะห่างจากสำนักงานเกษตรกับตำบลที่รับผิดชอบไกลที่สุด คือ 127 กิโลเมตร ใกล้ที่สุด 1 กิโลเมตร นักวิชาการส่งเสริมการเกเกษตรมีความเห็นว่า ตำบลที่รับผิดชอบเหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ในระดับมาก แหล่งความรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้านการสื่อสารมวลชน ด้านสื่อบุคคล ด้านสื่อกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ เฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ ร้อยละ 99.22 3) การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ความคิดเห็นของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรต่อการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5) ความต้องการการสนับสนุนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 6) ปัญหาและอุปสรรคของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3134 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146810.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License