Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3157
Title: การใช้ชีววิธีในการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Biological methods application for pest control by farmers in Mae Hong Son Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภาภรณ์ คำมูล, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การควบคุม
ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สถานการณ์การระบาดและการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกร (3) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกร และ(4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกร มี 2 คน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 9.43 ไร่ มีรายได้ของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 121,581.71 บาทเกษตรกรมากกว่าสองในสามสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. และเกษตรกรมากกว่าหนึ่งในสามที่มีจำนวนหนี้สินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาท เกษตรกรมากกว่าครึ่งมีสถานภาพการเป็นอาสาสมัครและผู้นำชุมชน โดยเกษตรกรมากกว่าสองในสามเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรเกี่ยวข้องกับการเกษตร ซึ่งเกษตรกรเป็นกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. มากที่สุด ทั้งนี้เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเกษตร เฉลี่ย 24.49 ปี และมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืช เฉลี่ย 1.96 ปี (2) เกษตรกรมากกว่าสองในสามพบการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื่อราอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เชื่อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นบางครั้ง เกษตรกรมากกว่าครึ่งพบมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้เชื่อราบิวเวอร์เรียเป็นบางครั้ง เกษตรกรมากกว่าครึ่งไม่พบการระบาดของหนอนศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรมากกว่าครึ่งไม่มีการใช้เชื่อแบคทีเรียบาซิลัส ทูริงเยนซิส เกษตรกรมากกว่าครึ่งพบการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื่อราและเชื้อแบคทีเรียอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้เชื่อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทีลิสเปนบางครั้ง (3) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกรในระดับมาก (4) ปัญหาของเกษตรกรคือขาดความรู้เรื่องศัตรูธรรมชาติ สำหรับข้อเสนอแนะ เกษตรกรเสนอแน่ะว่า หน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ควรมีการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้ชีวิธีในการควบคุมศัตรูพืช รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อผลิต จำหน่าย พัฒนารูปแบบการใช้เชื่อจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่อง และติดตามประเมินผลเป็นระยะ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3157
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147194.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons