Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฐิติพร จตุพรพิพัฒน์, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-08T05:24:41Z-
dc.date.available2022-08-08T05:24:41Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/315-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการการจัดการ ดูแลแบบประคับประคองสําหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก (2) สร้างรูปแบบการจัดการ ดูแลแบบประคับประคอง และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการ ดูแลแบบประคับประคองที่สร้างขึ้น ประชากร และกลุ่มตัวอยาง มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สําหรับวิเคราะห์สภาพการณ์ และความต้องการการจัดการ ดูแลแบบประคับประคอง ประกอบด้วยผู้ให้บริการในทีมสุขภาพ จํานวน 21 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คัดเลือกแบบเจาะจง จํานวน 14 คน ประกอบด้วย ผู้ให้บริการ จํานวน 5 คน และ ผู้รับบริการ คือผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก จํานวน 9 คน กลุ่มที่สอง สําหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จํานวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหาร และ กลุ่มผู้ปฏิบัติ จํานวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จํานวน 1 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ชุด ชุดแรก มี 2 ส่วน คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของโดนาบีเดียล และแนวคิดการดูแลแบประคับประคองขององค์การอนามัยโลก ชุดที่สองคือแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคอง เครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเฉลี่ย เท่ากับ 0.97, 0.94 และ 0.91 ตามลําดับ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบวา (1) สภาพการณ์การจัดการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยยังพบว่ามีปัญหาทั้งด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ และมีความต้องการพัฒนาทุกด้าน (2) รูปแบบสร้างขึ้นจากผลการวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการการจัดการดูแลแบบ ประคับประคองสําหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม เป็นรูปแบบที่ใช้บ้านผู้รับบริการเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วย มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีมาตรฐานการปฏิบัติ มีพยาบาลผู้ประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ และอาสาสมัครประจําหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมบ้านผู้ป่วยให้เข้มแข็ง ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย มีการจัดการดูแลแบบองค์รวม เน้นการดูแลด้านจิตสังคมเชื่อมโยงทุกระดับของบริการ สุขภาพ ด้านผลลัพธ์ประกอบด้วย ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถจัดการดูแลตนเองได้ มีความพึงพอใจในชีวิตและมีคุณภาพชีวิตดี ด้านผู้ให้บริการมีสมรรถนะในการดูแลแบบประคับประคอง และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองที่สร้างขึ้น พบวา มีความเหมาะสมกับ การนําไปใช้กับโรงพยาบาลวังเจ้า ร้อยละ 91.96 อย่างไรก็ตาม หากโรงพยาบาลอื่นที่ต้องการนํารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ ควรสำรวจความต้องการและคาดหวังของผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ตลอดจนครอบครัว ชุมชนและความสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.234en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแลth_TH
dc.titleรูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตากth_TH
dc.title.alternativeA model of palliative care management for patients with advanced cancers at Wangchao Hospital in Tak Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2014.234en_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of descriptive research were: 1) to analyzed the situation and needs of palliative care management for patients with advanced cancers at Wangchao Hospital in Tak province, 2) to develop a palliative care management model, and 3) to evaluate the appropriateness of the developed model for advanced cancers patients. The sample was composed 2 groups. The first group included 21 health care providers who analyzed the situation and needs for palliative care management. Fourteen key informants comprised 5 health personnel and 9 patients and their care givers, and they were selected by the purposive sampling technique. The second group consisted of 10 persons (5 administrators and practitioners, and one external expert) and this group was selected by the purposive sample technique. This group evaluated the appropriateness of the developed model. Two research tools were developed as follows. (1) A questionnaire was developed based on the concept of Donabedian model and palliative care of the World Health Organization and (2) an evaluation form of the appropriateness of the palliative care management model. The content validity of these tools was verified by five experts, and it was 0.97, 0.94, and 0.91 respectively. The reliability of qualitative data was approved by triangulation method. The data were analyzed by frequency, percentage, median, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows. 1) The situation of palliative care management for patients with advanced cancers at Wangchao Hospital in Tak province was at the medium level. Some problems in terms of structure, process, and outcome were found, and all aspects needed to be improved. 2) The patients’ home care model was developed based on the analysis results of situations and needs for palliative care management of patients with advanced cancers. This model comprised 3 components: structure, process, and outcome. (1) Structure: Clear policy must be specified. Standard guidelines must be established. Nurse - coordinators must be arranged. Village health volunteer participated in caring and promoting patients’ home, so this model will be strong. (2) Process: Holistic palliative care management which focusing on caring patients’ mind and society must be organized and connected to every level of health care services. (3) Outcome: Patients and their families could manage their care. They were satisfied in their life and quality of life. Health care providers had their competencies for palliative care management. 3) After implementation, the model was appropriate (91.96 %). However, if the developed model will be implemented in the other places, needs and expectations of health care providers, patients, families, the community, as well as the hospital contexts should be conducten_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons