กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3187
ชื่อเรื่อง: กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The process of selecting documentary photographs for publication in Magazines
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภาพประกอบนิตยสาร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดี 2) เกณฑ์การประเมินคุณค่าเชิงเนื้อหา และ 3) เกณฑ์การประเมินคุณค่าเชิงความงามของภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการภาพ บรรณาธิการศิลป์ และช่างภาพของนิตยสาร “สารคดี” และ “อสท” รวมทั้งสิ้น 9 คน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสารมีความแตกต่างกันระหว่างนิตยสาร “สารคดี” และ “อสท” โดยนิตยสาร “สารคดี” มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การคัดเลือกโดยช่างภาพ การคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการภาพ การคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการบริหาร และการคัดเลือกภาพโดยบรรณาธิการศิลป์ ส่วนของนิตยสาร “อสท” มี 3 ขั้นตอน โดยจะไม่มีการคัดเลือกภาพถ่ายในขั้นตอนของบรรณาธิการศิลป์ 2) เกณฑ์การประเมินเชิงเนื้อหาของภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร ประกอบด้วย (1) สามารถเล่าเรื่องในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องได้อย่างถูกต้อง (2) สะท้อนความจริงของเรื่องราวที่นำเสนอได้อย่างถูกต้อง (3) มีความสอดคล้องกับโครงเรื่อง (4) มีความสอดคล้องกับนโยบายองค์การและไม่ขัดกับกฎหมาย ศีลธรรม ประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม (5) เนื้อหาภาพไม่ซํ้าในเรื่องเดียวกันและเรื่องอื่น ๆ ในเล่มเดียวกัน (6) สะดุดตา มีความแปลกใหม่ (7) มีที่ว่างเพื่อจัดวางตัวหนังสือในการออกแบบจัดหน้า และ 3) เกณฑ์การประเมินเชิงความงามเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร ประกอบด้วย การมีคุณสมบัติทางเทคนิคที่ดี ได้แก่ มีความคมชัด มีความเปรียบต่างของสีสันที่ดี มีความสว่างที่พอดี และการมีคุณสมบัติทางศิลปะภาพถ่ายที่ดีตามหลักสำคัญ 4 ประการ คือ มีความสมดุล มีเอกภาพ มีความกลมกลืน และมีการเน้นให้เด่น นอกจากนั้นผลการวิจัยยังพบว่าการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดียังขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อ่าน โดยผู้คัดเลือกจะต้องเข้าใจรสนิยมของผู้อ่านกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3187
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม52.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons