Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3203
Title: การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรีในเครือคาทอลิก
Other Titles: Public relations to build civic conscience in secondary students school at Prahareutai Nonthaburi Catholic School
Authors: ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี คงเพ็ชรศักดิ์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
จิตสาธารณะ--การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษา (1) การใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสาธารณะ ของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรีในเครือคาทอลิก (2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ (3) พฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนฯ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนฯ และ (5) เสนอกลยุทธ์ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 – นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 897 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ หัวหน้าผู้ปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา หัวหน้าฝ่าย จิตตาภิบาล และหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์รวม 3 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ใช้สื่อแบบผสมผสานแต่จะเน้นไปที่สื่อบุคคล ซึ่งได้แก่ คุณครู เพื่อน เจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโครงการฯ (2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์พบว่า มีระดับการเปิดรับมากที่สุดคือ สื่อบุคคล และสื่อประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงเรียน (3) พฤติกรรมจิตสาธารณะพบว่า ทั้งจิตสำนึกต่อตนเองและด้านจิตสำนึกสาธารณะต่อส่วนรวมอยู่ในระดับมาก (4) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนฯ มีความสัมพันธ์กัน ระดับชั้นที่ต่างกันมีผลต่อการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนฯ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (5) เสนอกลยุทธ์ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์พบว่า ต้องมีการวางแผนกิจกรรมจิตสาธารณะเร็วขึ้น มีการกำหนดแผนล่วงหน้า เพิ่มความหลากหลายของโครงการและกิจกรรมจิตสาธารณะ เพิ่มจำนวนรางวัล มีการมอบเกียรติบัตรและโล่เกียรติคุณจิตสาธารณะมากขึ้น และไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมดังกล่าวมากเกินไป
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3203
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons