Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3690
Title: | การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายตามมาตรา 211 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550) |
Other Titles: | Constitutional control under section 211 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (B.E.2550) |
Authors: | สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก ทิพยรัตน์ ทาเคลือบ, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | รัฐธรรมนูญนั้นมีบทบัญญัติกำหนดช่องทางการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายไว้หลายช่องทาง ซึ่งช่องทางที่สำคัญต่อประชาชนมากที่สุดคือ ช่องทางตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเป็นช่องทางหลักในการที่ประชาชนจะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายได้ โดยมาตราดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้ คือ หากศาลเห็นเองหรือคู่ความในคดี คู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผล ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ศาลที่พิจารณาคดีมีหน้าที่ต้องส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งของคู่ความเช่นว่านั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวและในระหว่างนั้นให้ศาลที่พิจารณาคดีดำเนินการพิจารณาต่อไปได้ แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จากการศึกษาบทบัญญัติและการบังคับใช้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว พบว่าก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือ การถูกใช้เป็นช่องทางในการประวิงคดี เนื่องจากเมื่อคู่ความร้องต่อศาลว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่จะบังคับใช้ในคดีขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญศาลจะต้องสั่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเสมอ ประการที่สอง บทบัญญัติดังกล่าวบังคับศาล อาจเป็นเหตุให้มีคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญมากเกินความจำเป็น ทำให้การตัดสินคดีในภาพรวมมีความล่าช้าออกไป ประการที่สาม ขั้นตอนวิธีการตามมาตรา 211 ดังกล่าว ทำให้มาตรา 212 (สิทธิฟ้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ) ไม่มีที่ใช้เพราะไม่ว่ากรณีใด ประชาชนก็จำต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตน และโต้แย้งตามมาตรา 211 ตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว จากการศึกษาและวิเคราะห์บทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาทั้งสามนั้นเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญบังคับให้ศาลส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเสมอหากคู่ความโต้แย้ง ดังนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องกระทำ โดยการแก้ไขมาตราดังกล่าว โดยให้ดุลยพินิจต่อศาลที่พิจารณาคดีในการตัดสินว่าบทบัญญัติกฎหมายซึ่งจะใช้บังคับในคดีที่คู่ความโต้แย้งนั้นขัดแย้งกบรัฐธรรมนูญหรือไม่หากเห็นว่าขัดกบรัฐธรรมนูญก็ให้ทำการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป แต่ถ้าหากเห็นวาบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญยกคำร้องของคู่ความเสียและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3690 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License