Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/371
Title: สภาพแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไรน้ำนางฟ้าไทยเพื่อการส่งออก
Other Titles: Proper lighting condition for growing Thai fairy shrimp (Branchinella thailandensis) for exporting
Authors: สุภาวดี ธีรธรรมากร
รณยุทธ์ ทำมา, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พิชญดา เกตุเมฆ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์
ไรน้ำนางฟ้า--การเจริญเติบโต
ไรน้ำนางฟ้า--การส่งออก
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตปริมาณน้ำหนัก ขนาดความยาว และอัตราการรอดของไรน้ํานางฟ้าไทยในสภาพควบคุม (2) ศึกษาสภาพแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต น้ำหนัก ขนาดความยาว และอัตราการรอดของไรน้ํานางฟ้าไทยในสภาพเลี้ยงจริง (3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในการส่งออกหน่วยทดลอง คือไรน้ํานางฟ้าไทย 256 ตัวต่อตู้ควบคุมแสง ขนาด (กว้าง x ยาว x สูง) 32 x 40 x 25 เซนติเมตร แต่ละตู้มีการควบคุมแสงสีและความสว่างที่ใช้ต่าง ๆ กันโดยมีแสงสี 5 สี ได้แก่ หลอดไฟ สีขาว สีเหลือง สีแดง สีเขียว และสีน้ําเงิน โดยมีการใช้ความสว่าง 4 ระดับ ได้แก่ 500, 1000, 1500 และ 2000 ลักซ์ ทําการเลี้ยงไรน้ํานางฟ้าไทยในตู้ควบคุม 20 ตู้ จํานวน 5 ครั้ง แต่ละ ครั้งเป็นเวลา 12-15 วัน วางแผนการทดลอง 5 x 4 Factorial in Randomized Complete Block Design (RCBD) ใช้สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Duncan's new Multiple Range Test (DMRT) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนข้อมูลทางสถิติด้วย ANOVA (Analysis of Variance) เพื่อหาแสงสีและความสว่างที่เหมาะสมมาใช้เลี้ยงในบ่อวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 120 เซนติเมตร ซึ่งจําลองการเลี้ยงในสภาพจริง ผลการวิจัย พบว่า (1) แสงสีแดง และความสว่างของแสงที่ 1500 ลักซ์ มีผลต่อน้ำหนักเฉลี่ย และขนาดความยาวเฉลี่ยของไรน้ํานางฟ้าไทยอย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) แสงสีและความสว่างมีอัตราการรอดตายไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) รวมทั้งลดจํานวนวันในการเลี้ยงให้ได้ขนาดตามต้องการลงได้จาก 15 วันเป็น 12 วัน (2) สภาพการเลี้ยงจริงในบ่อวง ที่แสงสีแดง และความสว่าง 1000 ลักซ์ ให้ผลของน้ำหนักเฉลี่ย ขนาดความยาวเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่ต้องการ และมีอัตราการรอดตายสูงถึง 90 % และ (3) ประสิทธิภาพการผลิต เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในสภาพปกติด้วยแสงธรรมชาติ และระยะเวลาการเลี้ยง 15 วัน ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 20% สามารถลดพลังงานไฟฟ้า 61.63 บาท/เดือน และลดต้นทุนด้านแรงงาน 1500 บาท/เดือน
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/371
Appears in Collections:Science Tech - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_155171.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons