Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3751
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorน้ำอ้อย พันกับ, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T10:36:54Z-
dc.date.available2023-03-05T10:36:54Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3751-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณเกี่ยวกับภาษีของภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ภาษีบำรุงท้องที่ ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... (2) วิเคราะห์ฐานภาษีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ภาษีบำรุงท้องที่ ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...(3) วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องฐานในการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางกฎหมาย ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร ประเภทงานวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลักกฎหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณเกี่ยวกับภาษี การวิเคราะห์ฐานภาษี ของกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน กฎหมายภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อหาปัญหาของกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเรื่องฐานภาษี ตลอดจนหาแนวทางในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... จากการศึกษาพบปัญหา ตามมาตรา 30 วรรคสาม ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจตราข้อบัญญัติเพื่อกำหนดเกณฑ์ขนาดพื้นที่และเกณฑ์ฐานภาษี สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุดภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งก็ได้ ควรมีการกำหนดกรอบการลดหย่อนขั้นต่ำไว้ ตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจคล้ายกับพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 22 โดยอาจกําหนดเป็นที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ระดับเล็ก ระดับกลาง ระดับใหญ่ ที่ดินในเขตเทศบาลตำบลเทศบาลเมือง เทศบาลนคร ที่ดินในเขตเมืองพัทยา และที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครในท้องที่ทีมีชุมชนหนาแน่นมาก ชุมชนหนาแน่นปานกลาง ท้องที่ชนบท โดยกำหนดไว้ว่าให้ลดหย่อนได้ แต่จะกำหนดเกณฑ์ลดหย่อนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจํานวนเท่าใดไม่ได้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเหมาะสมกับผู้เสียภาษีที่อยู่ในหน่วยการปกครองท้องถิ่นอย่างเดียวกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาษีโรงเรือนและที่ดินth_TH
dc.subjectภาษีบำรุงท้องที่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleปัญหาฐานภาษีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่th_TH
dc.title.alternativeThe problems on tax base of the building and land tax and local development taxen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons