Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3929
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรรณงาม อาวเจนพงษ์, 2507--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-10T02:15:30Z-
dc.date.available2023-03-10T02:15:30Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3929-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยใช้มาตรการทางกฎหมายในการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมาย ประเทศอเมริกา และกฎหมายประเทศออสเตรเลีย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นหลักความรับผิดทางสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะซื้อขาย และกฎหมายลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 อีกทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 พบว่ากฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยที่สามารถใช้กับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยโดยทั่วไปได้ทุกประเภท ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย มีมาตรการการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เป็นกฎหมายที่ใช้กับสินค้าทั่ว ๆ ไปได้ โดยไม่ระบุประเภทหรือชนิดของสินค้า และยังใช้ได้กับสินค้าทั้งก่อนวางขายอยู่ในตลาด หรือ กำลังวางขายอยู่ในตลาด อีกทั้ง สินค้าที่ได้ขายให้แก่ผู้บริโภคไปแล้ว จากการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว จึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการคุ้มครองสิทธิในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคดังกล่าว โดยกำหนดให้มีมาตรการบังคับให้เรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพิ่มขึ้น ซึ่งควบคุมดูแลโดยหน่วยงานหรือ คณะกรรมการ ที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด ๆ โดยมีอำนาจในการตรวจสอบสินค้าบริโภค ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหลังจากสินค้านั้นได้ถูกวางตลาดไปแล้ว มีอำนาจในการสั่งตรงให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และพ่อค้าปลีกดำเนินการเรียกคืนสินค้า กลับคืนมาจากผู้บริโภค เพื่อจะได้คุ้มครองผู้บริโภคได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เป็นคดีในศาลก่อนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.subjectสินค้าth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยth_TH
dc.title.alternativeLegal measures concerning the recall of unsafe goodsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons