Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3934
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิมาน กฤตพลวิมาน | th_TH |
dc.contributor.author | พรพรรณ เหงี่ยมไพศาล, 2518- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-10T02:43:04Z | - |
dc.date.available | 2023-03-10T02:43:04Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3934 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกฎหมายการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ และพระราชบัญญัติการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผง ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและยุติธรรมมากที่สุด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการค้นคว้าจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลทางสื่อสารสนเทศ โดยข้อมูลและเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องนำมาเพื่อใช้ในการอ้างอิงและเรียบเรียงขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ถือเป็นความสำเร็จในการผลักดันให้มีกฎหมายควบคุมการโฆษณานมผงในประเทศไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า “นมแม่” มีประโยชน์มากที่สุด แม้ “นมผง” จะมีสารอาหาร ที่มีประโยชน์แต่ก็ไม่เทียบเท่านมแม่ แต่พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดหรือการโฆษณาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารกของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนเท่านั้น ควรมีการแก้ไขโดยเพิ่มคำนิยามคำว่าการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมผง บทบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษสำหรับการกระทำผิดของบุคลากรด้านสาธารณสุขด้วย อย่างไร ก็ตาม นอกจากจะใช้กฎหมายมาควบคุมการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาใช้ร่วมกับกฎหมาย คือ ข้อบังคับที่กำหนดเป็นแนวทางในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรด้านสาธารณสุข ได้แก่ จรรยาบรรณของบุคลากรด้านสาธารณสุข ก็จะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์นมผง | th_TH |
dc.subject | ข้อมูล | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Legal problem concerning provision of information of powdered milk products in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this independent study is to study concept, theory concerning laws for provision of information of powdered milk products in Thailand from the past until present, analyze the International Code of Marketing of Breast-milk Substitutes and Infant and Baby Food Marketing Promotion Control Act B.E. 2560 (2017) for application as solution guideline for problem concerning provision of powdered milk products in Thailand to be most clear and fair. This independent study is Qualitative Research using documentary research method. Data was collected using research method from books, thesis, articles and journals, as well as search of data via information media. All related data and documents were used in reference and composition. The finding of studying results indicated that Infant and Baby Food Marketing Promotion Control Act B.E. 2560 (2017) has been the furtherance success to have a law that particularly controls powdered milk advertisement in Thailand due to well realization that “breast milk” is most useful even though “breast milk” contains useful nutrients but their usefulness is not equivalent to breast milk. However Infant and Baby Food Marketing Promotion Control Act B.E. 2560 (2017) is enacted to particularly control inappropriate marketing promotion or advertisement concerning infant foods, baby foods, and infant supplementary foods of the manufacturers, importers or agents. It should be amended by adding the definition for the term of “provision of information of powdered milk products”, and legal provision of liability and penal provision for the offence of the public health personnel. Nevertheless, apart from the application of law in controlling the provision of powdered milk information, the requirements for common application with laws included the regulations which are determined as controlling guideline for the function of the public health personnel such as code of conduct of public health personnel, resulting in the people’s acquisition of correct news information relating to usefulness of breastfeeding. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License