Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3939
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ บุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Factors in influencing career success of personnel of Chulalongkorn University
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศรี สิงห์ทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--ข้าราชการและพนักงาน
การทำงาน
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ (3) ศึกษา ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรจุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินและสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 8,250 คน ทำการสุ่มตัวอย่างจากประชากรมาจำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชี่อถึอได้เท่ากับ .96 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้ได้แก่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และวิเคราะห์ การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความส่าเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในระดับ ไม่ท่ากว่ารัอยละ 80 โดยได้ค่าจากการทดสอบ Significance < .05 และค่า t > 0 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่คงไวั (2) การวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การและกระบวนการบริหารกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน พบว่า กระบวนการบริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะคือ กระบวนการบริหารมีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บริหารควรนำหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้คือ 1) การวางแผนควรมีการจัดทำ SWOT อย่างต่อเนึ่อง บุคลากรควรมีส่วนร่วมทั้ง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมตรวจสอบ และควรใช้เทคนิค Feasibility study เพื่อวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของแผน 2) การจัดองค์การ ควรทำการเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับองค์การที่ได้รับการยอมรับ ควรลดขนาคของ องค์การให้เล็กลง (Downsizing) และควรลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการเสร็จสินได้ภายในจุดเดียว (One-Stop Services) 3) การบริหารงานบุคคล ควรมีการประเมินระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Scorecard) ตามแนวคิดของ ก.พ. ควรนำ หลักสมรรถนะ (Competency) และ Knowledge Management (KM) มาใช้ในการบริหารงานบุคคล 4) การอำนวยการ/สั่งการ ควรบริหาร เชิงวัตถุประสงค์ (Management By Object, MBO) ควรมีการจูงใจบุคลากรด้วยการ กำหนดเป้าหมาย (Goal Setting) การเสริมแรง (Reinforcing Performance) และการออกแบบงานเรื่องการจูงใจ (Designing motivating jobs) ควรกระตุ้นให้บุคลากรดึงความสามารถที่มี และความรู้สึกอยากทำงานด้วยความกระตือรือล้น มุ่งมั่น เพื่อให้เกิดกำลังใจและเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ควรสังการโดยมุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ (Result) และใช้ Key Performance indicator (KP1) เป็นตัวบ่งชี้ในการวัดผลสำเร็จของงาน โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมเพี่อนำผลงานจริงที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไวัและควรส่งเสริมรณรงค์ให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของคนตามแนวคิด คุณลักษณะของข้าราชการที่พึงประสงค์ I AM READY มาใช้อย่างยั่งยึน 5) การประสานงาน ควรสื่อสารจากบนลงล่าง ด้วยการสอนงาน (Coaching) และสื่อสารจากล่างขึ้นบน ด้วยการส่ารวจทัศนคติ การร้องทุกข์ของผู้ปฏิบัติงาน การใช้ระบบข้อเสนอแนะ และการใช้นโยบาย เปิดประตู (Open door) 6) การรายงานผล ควรนำตัวชี้วัดความสำเร็จของการท่างาน (KP1) มาใช้ในการรายงานผล โดยการรายงานผล ตัองโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ และควรทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวงจรเดมมิง (Deming) หรึอวงจร PDCA และ 7) การงบประมาณ ส่งเสริมให้มีการใช้งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3939
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
102069.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons