Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/393
Title: | การพัฒนารูปแบบบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Other Titles: | Development of a customer-focused library service model for Rajabhat University Libraries |
Authors: | ทัศนา หาญพล สนทยา สาลี, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จันทิมา เขียวแก้ว ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ห้องสมุด--บริการลูกค้า ผู้ใช้ห้องสมุด |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนการบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการ และ 4) พัฒนารูปแบบบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการ สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและประเมินรูปแบบการบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แหล่งข้อมูลเอกสาร และกลุ่มตัวอยางประกอบด้วย ผู้บริหาร ห้องสมุด บรรณารักษ์ อาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 8 คน บรรณารักษ์ จำนวน 8 คน อาจารย์จำนวน 416 คน และนักศึกษา จำนวน 1,607 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพัฒนา รูปแบบโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิพากษ์และยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และทดลอง รูปแบบกับบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง รวมจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่กำหนดวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการและการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยและท้องถิ่น มีการจัดการ องค์กรเพื่อพัฒนางานบริการ และมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับชุมชนและท้องถิ่น 2) พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ พบว่า ตัวแปรด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการห้องสมุดมีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบมากที่สุดของกลุ่มอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา (ß=0.699 และ ß=0.685 ตามลำาดับ) ส่วนความต้องการของผู้ใช้บริการ ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดของกลุ่มอาจารย์ (ß =0.904) และตัวแปรด้านบุคลากรของห้องสมุดมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดของกลุ่มนักศึกษา (ß=0.843) 3) ปัจจัยสนับสนุนการบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการ ตัวแปรด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์มีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบมากที่สุดของทั้งกลุ่มอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา (ß=0.937และ ß=0.929 ตามลำดับ) และ 4) รูปแบบบริการห้องสมุดที่เน้นผู้ใช้บริการสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ รูปแบบการจัดการ ความสัมพันธ์เชิงนวัตกรรมสำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ องค์ประกอบ คือ ผู้ให้บริการ ปัจจัยภายใน ผู้ใช้บริการ และปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนการบริการห้องสมุด การประเมินรูปแบบโดย ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสม และผลการนำกลยุทธ์ด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้พบว่า บรรณารักษ์มีความพึงพอใจระดับมาก |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/393 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
162540.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License