Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorถุงทอง ฉัตรชัยเวช-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-03-13T08:50:43Z-
dc.date.available2023-03-13T08:50:43Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4134-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์การดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินของ บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินของ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระด้บการศึกษา สถานภาพการสมรส ระดับตำแหน่งงานในปัจจุบัน ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มเส้นทางเที่ยวบิน และชั้นของ การให้บริการ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ได้ ได้แก่ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน 375 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบโค้วต้าเครื่องมือที่ใด้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นของพนักงานในการปฎิบัติงานการให้บริการบนเครื่องบิน ของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ช่วงก่อนเครื่องขึ้นพนักงานมีความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสมในด้านการ ให้บริการเครื่องดื่มเกี่ยวกับระยะเวลาให้บริการเครื่องดื่มกับผู้โดยสาร ส่วนในช่วงอื่นๆ คือ ช่วงระหว่างเที่ยวบิน ช่วงก่อนเครื่องลง และช่วงหลังเครื่องลง พนักงานมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่แลัวในทุกด้าน เมื่อพิจารณาถึง ระดับการดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินจะพบว่าการดำเนินงานการให้บริการโดยรวมในทุกๆ ด้านมีการ ดำเนินงานอยู่ในระดับที่ดีมากและเมื่อทดสอบสมุติฐานทางสถิติจะพบว่า (2) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มี เพศ สถานภาพการสมรส ประสบการณ์การทำงาน ชั้นของการบริการที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันแตกต่างกันส่งผลให้ มีการบริการบนเครื่องบินของบริษัทการบินใทย แตกต่างกัน แต่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มี อายุระดับ การศึกษา ระดับตำแหน่งงานในปัจจุบัน และกลุ่มเส้นทางเที่ยวบินที่ถูกจัดให้รับผิดชอบที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มี การบริการบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานการ ให้บริการบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ที่สำคัญคือก่อนเครื่องบินทำการบินขึ้น ในด้าน ความปลอดภัยนั้นควรมีการเพื่มระยะเวลาในการตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน และความปลอดภัยต่างๆ ภายในเครื่องบินให้มากกว่านี้ ในเที่ยวบินที่มีระยะเวลาทำการบินสั้น ในส่วนของการบริการทางด้านเครื่องดื่ม และอาหาร ควรจัดขั้นตอนการบริการให้มีความเหมาะสมกับระยะเวลาในการบิน การสรรหาและการคัดเลึอก พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินควรเป็นไปด้วยความยุติธรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2007.341-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบริษัทการบินไทยth_TH
dc.subjectพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินth_TH
dc.titleการวิเคราะห์การดำเนินงานการให้บริการบนเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)th_TH
dc.title.alternativeThe analysis of in-flight service operation of Thai Airways International Public Company Limitedth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2007.341-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the Analysis of In-flight Service Operation of Thai Airways International Public Company Limited were (1) to analyze the in-flight service of Thai Airways International; (2) to compare the in-flight service operation of Thai Airways International’s cabin attendants according to their gender, age, education , marital status, positions, working experience, flight route and in-flight service’s classes; (3) to give suggestions on in-flight service operation for Thai Airways International Public Company Limited . The sample group was 375 cabin attendants randomly collected by the Quota questionnaires. Percentage, mean, standard deviation, independent sample T-test and one way analysis of variance were used to analyze the data. Findings were (1) cabin attendants do not agree with the drink service before take-off due to the limited time-frame; however, they were satisfied with all other working procedures include during cruising, descending, after landing. In general, the in-flight service operation in all aspects revealed at high level. When tested with statistics hypothesis, (2) cabin attendants with different gender, marital status, working experience and in-flight service’s classes perform their in-flight service differently; whereas those with various ages, educational levels, positions and flight route do not; (3) the suggestions for the in-flight service operation for Thai Airways International Public Company Limited were to extend more time before each take off to perform pre- flight security check include all the emergency equipments and the safety procedures; drink and meal services in short route should be adjusted relevantly to the flight time; and cabin attendants’ recruitment and selection must be executed in absolute justiceen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105656.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons