Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4165
Title: การเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้วกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง ในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The comparison of management administration readiness in terms of people services according to the sufficiency economy philosophy between the Banngew and the Bankrachang Subdistrict Administrative Organization in Pathumthani Province
Authors: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาศชรี ถนอมศิลป์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว--การบริการ.--ไทย--ปทุมธานี
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง--การบริการ.--ไทย--ปทุมธานี
เศรษฐกิจพอเพียง
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (1) ความพร้อมในการบริหารจัดการ (2) ปัญหา และ (3) แนวทางการพัฒนาความพร้อมในการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนดาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้วกับองค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง ในจังหวัดปทุมธานี โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล, การมีภูมิคุ้มกัน, การพื่งตนเอง, การเสริมสร้างคุณภาพคน ให้มีความรู้และคุณธรรมควบคู่กัน, การรวมกลุ่ม, การสรัางเครือข่าย และความสมดุลและการพัฒนาที่ ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่าน การทดสอบหาความเที่ยงตรง และความเชื่อถึอได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.94 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,070 คน แบ่งเป็น บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านงิ้วและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง กลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บรวบรวม แบบสอบถามค้นมาได้ 1,068 คน คิดเป็นร้อยละ 99.81 ของแบบสอบถามทั้งหมด (1,078 คน) ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้คอมพิวเตอร์และสถิติที่นำมาใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฎว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเหึนว่า (1) องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่งมี พร้อมในการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง และ (2) ปัญหาที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง คือ การขาดความรู้ในการให้บริการ ประชาชนโดยยึดหลักประหยัด และ (3) สำหรับแนวทางการพัฒนาที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 2 แห่ง คือ การฝึกอบรมผู้บริหารทุกระดับในเรื่องความสำคัญของการให้บริการประชาชน นอกจากนี้ ควรนำกรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการศึกษาวิจัยในอนาคด
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4165
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105660.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons