Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4274
Title: ปัญหาเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครอง
Other Titles: Problem on jurisdictions of administration's contracts
Authors: สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันชัย กนกอังกรู, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
เขตอำนาจศาล--ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: แม้ว่าระบบกฎหมายไทยจะได้มีการแบ่งแยกประเภทสัญญาของฝ่ายปกครองและแบ่งแยกเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครองไว้แล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีปัญหาในการแบ่งแยกเขตอำนาจศาล เนื่องจากสัญญาทางปกครองและสัญญาทางแพ่งของฝ่ายปกครองมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขอบเขตของสัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (2) ศึกษาขอบเขตของสัญญาทางปกครองของประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี และ (3) ศึกษาแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเกี่ยวกับอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครอง ผลการศึกษาพบว่า ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทย มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสัญญาทางปกครองในแนวทางเดียวกัน คือ (1) สัญญาของฝ่ายปกครองนั้นมีกฎหมายกำหนดให้เป็นสัญญาทางปกครอง และ (2) สัญญาของฝ่ายปกครองนั้นเป็นสัญญาทางปกครองโดยสภาพส่วนประเทศเยอรมนี มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสัญญาทางปกครองโดยการพิจารณาเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ของสัญญาว่าจะต้องเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชนปัญหาการแบ่งแยกเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครองของประเทศไทยมีสาเหตุมาจากปัญหาความไม่ชัดเจนในการกำหนดความหมายของสัญญาทางปกครอง ปัญหาสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม และปัญหาการวินิจฉัยที่ขัดแย้งกันระหว่างศาล ปกครองสูงสุดและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการกำหนดความหมายของสัญญาทางปกครองให้ชัดเจน ควรแก้ไขกฎหมายให้สัญญาของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นตามระเบียบว่าด้วยพัสดุเป็นสัญญาทางปกครอง และให้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อยุติปัญหาคำวินิจฉัยที่ขัดแย้งกันของศาลและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4274
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons