Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4280
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธ์ พลรบ | th_TH |
dc.contributor.author | วิทยา ฝั้นคำอ้าย, 2510- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-15T02:38:07Z | - |
dc.date.available | 2023-03-15T02:38:07Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4280 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยนายอำเภอมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี การกำกับดูแล และปัญหา อุปสรรคในการกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีการวินิจฉัยของนายอำเภออันมีผลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ว่า มีความเหมาะสมและความสอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสภาพสังคมปัจจุบันหรือไม่ เพื่อที่จะเสนอแนวทางการกำกับดูแล และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (Docummentary Research) จากตำรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายคำพิพากษา และสภาพปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้อำนาจนายอำเภอกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลโดยคำวินิจฉัยมีผลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งค่อนข้างรุนแรง และข้อกฎหมายไม่ชัดเจน ทำให้การใช้ดุลพินิจค่อนข้างกว้างขวาง เกิดปัญหาการบังคับใช้ อีกทั้งเนื้อหาของบทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการกำกับดูแลในสังคมปัจจุบัน และความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเสนอแนะสองแนวทาง แนวทางแรก คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 58/1 วรรคหนึ่ง (3) กรณีที่วินิจฉัย “พฤติกรรมในทางทุจริต” โดยองค์กรศาล หรือปปช. เป็นผู้วินิจฉัยแทนการวินิจฉัยของนายอำเภอ และเพิ่มเติมมาตรา 64/2 วรรคหนึ่ง (3) ข้อความว่า “และก่อความเสียหายแก่ทางราชการ” เพื่อขยายความผู้มีส่วนได้เสีย “ทางอ้อม” ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีกรอบชัดเจนมากยิ่งขึ้น แนวทางที่สอง แก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง (4) โดยเปลี่ยนคำว่า “การควบคุมดูแล” เป็นใช้คำว่า “การกำกับดูแล” แทน และแก้ไขกฎหมายมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็น “ให้นายอำเภอดำเนินการสอบสวนโดยเร็วในกรณีที่ผลการสอบสวนปรากฏว่าความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงตาม (4) หรือ (5) แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง” | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | นายอำเภอ | th_TH |
dc.subject | นายกองค์การบริหารส่วนตำบล | th_TH |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | การกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยนายอำเภอ | th_TH |
dc.title.alternative | Supervision of president of sub-district administrative oganization by chief district officer | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This independent study filled “Supervision of President of Sub - District Administrative Organization by Chief District Officer” is aimed to study the authority of chief district officer under the State Administration Act of B.E. 2534, The Sub - District Administration Organization Act of B.E. 2537 in case removal from office of Sub - District Administrative Organization whether if is suitable and consistent with the autonomy principle under the Constitution laws and current Thai society, in order to propose the recommendation of above. The research methodology used in this study is documentary research from provision of laws, textbooks, judgments, and other relevant documents. The result of this study showed that the mentioned law empowers chief district officer in controlling and supervising President of Sub - District Administration Organization quite strict which is inconsistent with the concept of necessity of supervision, decentralization, and autonomy of Sub - District Administration Organization. This study summarized that The State Administration Act of B.E.2534 Section 65 paragraph one (4) The Sub - District Administration Organization Act of B.E. 2537 section 58/1 paragraph one (3) and Section 64/2 paragraph one (3) should be amended in case of President of Sub - District Administration Organization is disqualified or have the act of corrupting by other relevant bodies instead of chief district officer. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License