Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิรัช บัวคง, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-15T03:34:14Z-
dc.date.available2023-03-15T03:34:14Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4307-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและการพัฒนาการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ศึกษาสภาพปัญหาระบบการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ศึกษาวิเคราะห์เจตนารมณ์ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2560 ประกอบกับหลักการบริหารงานบุคคลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจและหลักคุณธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรา หนังสือ กฎหมาย เอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานราชการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 15 และมาตรา 23 มีเจตนารมณ์ตามหลักการกระจายอำนาจทางปกครองตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้กระบวนการสรรหาบุคลากรมาดำรงตำแหน่งในสายงานผู้บริหารเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ในขณะเดียวกันต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามหลักคุณธรรม อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติผู้บริหารท้องถิ่นบางแห่งได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเข้ามาแทรกแซงชี้นำในกระบวนการสรรหาโดยอ้างว่าต้องเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ส่งผลให้กระบวนการสอบคัดเลือกและการคัดเลือกทั้งการเปลี่ยนสายงานและเลื่อนระดับให้สูงขึ้นกลับไปมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นพวกพ้องตนเองหรือผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับผู้บริหารท้องถิ่น โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถและไม่เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะในขณะนี้จึงเห็นควรมีหน่วยงานกลางเป็นผู้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคลากรในสายงานผู้บริหารโดยใช้ระบบคุณธรรม และหลักความรู้ ความสามารถ มาเป็นแนวทางในการคัดเลือกและสอบคัดเลือก จนกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลอย่างแท้จริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบริหารงานบุคคลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeThe problem of personnel management of Local Governmentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the development of decentralization of local governments under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540 (1997), B.E.2550 (2007), and B.E.2560 (2017), to study the problem of local personnel administration B.E. 2542 (1999), to study the intention in personnel management of local governments under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2560 (2017) and related legislation, and to suggest proper amendment to the law on personnel management of local governments in accordance with the principle of decentralization and merit system. Documentary research was used in this research, emphasized on studying and analyzing the problems by searching and collecting the information from textbooks, books, laws, government agency’s publications, researches, theses, and other related documents. The result reveals that although the section15 and 23 of the Local Personnel Administration B.E. 2542 (1999) aimed that the recruitment and selection of executive officials of local governments should be in accordance with the principle of decentralization and also fair and honest according to the merit system. However, some local administrators have intervened and persuaded in recruitment and selection by claiming to the needs of the local people but actually it is their needs. As a result, the recruitment and selection both in cases of changing job fields and promotion of executive officials are become the patronage system. The selected of executive officials are their partisans or people with mutual benefits regardless of their knowledge and ability. The suggestion is that for the time being there should have central authority to do the recruitment and the appointment of local executive officials by emphasizing knowledge and ability of candidates according to the merit system until the local governments will be truly autonomyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons