Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4316
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวีระวุธ ชัยชนะมงคล, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-15T04:02:32Z-
dc.date.available2023-03-15T04:02:32Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4316-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง กฎหมายการชุมนุมสาธารณะกรณีประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะและร่างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยที่มีการนำเสนอให้มีการตราขึ้นบังคับใช้ โดยเปรียบเทียบกับหลักการสากล และกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของต่างประเทศอันได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาว่าประเทศไทยควรจะมีการบัญญัติกฎหมายการชุมนุมสาธารณะหรือไม่ หากมีควรมีลักษณะเช่นใดที่น่าจะเหมาะสมที่สุด วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือการปฏิบัติการของหน่วยงานและเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการรักษาความสงบหรือ การจัดระเบียบการชุมนุมสาธารณะ บทความจากวารสารต่าง ๆ ข่าวจากหนังสือพิมพ์ และ สารสนเทศ บน Internet นำมาประมวลเป็นข้อมูลเพื่อทำการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การชุมนุมสาธารณะโดยสงบและปราศจากอาวุธถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ แต่เนื่องจากการชุมนุมสาธารณะมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบหรือจลาจลขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายจัดระเบียบกำหนดให้ทุกฝ่ายอันได้แก่ ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องร่วมกันรับผิดชอบควบคุมดูแลให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นที่ไม่ได้ร่วมการชุมนุมด้วย ส่วนในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็จะมีกฎหมายพิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัยของประชาชนอันเป็นหลักสากลซึ่งประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษก็ได้นำหลักการนี้มาใช้ โดยได้ตรากฎหมายการชุมนุมสาธารณะโดยเฉพาะขึ้นบังคับใช้ โดยถือว่าสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมไม่ได้เป็นสิทธิสัมบูรณ์แต่เป็นสิทธิสัมพัทธ์ จึงเป็นสิทธิที่สามารถถูกจำกัดได้ ส่วนประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจึงใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั่วไปและกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็นกฎหมายเชิงยับยั้งและลงโทษทางอาญา ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ในการจัดระเบียบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปด้วยความสงบ สรุปสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทยเป็นสิทธิที่ไม่มีการจำกัดหรือมีกฎเกณฑ์การจัดระเบียบในการชุมนุมไว้โดยเฉพาะซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษที่ได้ตราเป็นกฎหมายขึ้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ควบคุมการชุมนุมมักถูกกล่าวหาว่าใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมเกินกว่าความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน ข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการตรากฎหมายส่งเสริมการชุมนุมสาธารณะโดยสงบขึ้นโดยเป็นกฎหมายปกครองที่มีลักษณะเชิงป้องกันมาจัดระเบียบ วางหลักเกณฑ์ในการชุมนุมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเป็นไปตามหลักสากลในการบริหารความเสี่ยงร่วมกัน และกำหนดให้เจ้าหน้าที่ได้จัดทำคู่มือมาตรการการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมตามหลักสากลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้และยอมรับถึงความจำเป็นในการตรากฎหมายนี้มากกว่าที่จะเสนอตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 วรรคสองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสิทธิการชุมนุม--ฝรั่งเศสth_TH
dc.subjectสิทธิการชุมนุม--อังกฤษth_TH
dc.titleกฎหมายการชุมนุมสาธารณะกรณีประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษth_TH
dc.title.alternativePublic assembly law the case of France and Englanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study entitled Public Assembly Law the case of France and England were: to review the concepts, theories and principles of Public Assembly and the proposal draft of Thai Public Assembly law, to compare the draft with universal Best Practice and Public Assembly Law of France and England and to find a suitable framework for guide legislation of Thai Public Assembly Law. The research methodology is a qualitative approach by analyzing documents from texts , laws, manuals of authorities for peace keeping and public order management relating to Public Assembly and articles from journals and newspapers. All sources of information were analyzed. Research findings were as follows: Peaceful public assembly without intervention or armed suppression is the fundamental right to freedom which is guaranteed by the Constitutions of France and England. Because of the risk of any such assembly becoming disorderly or out of control, public assembly law is legislated in democratic societies for the protection of the rights and freedoms of others, for the protection of health or morals and for the prevention of disorder or crime. All participants of an assembly, organizers, participants and authorities, must take responsibility for the assembly. In cases where there is a state of emergency or war, the governments usually apply special laws where the right to freedom of assembly is restricted in the interest of national security or public safety so the right to freedom of public assembly is not an absolute right but it is a relative one. There is currently no public assembly law in Thailand. Authorities have limited choice to enforce inadequate laws which are repressive. The conclusion is the right to freedom of public assembly in Thailand is not restricted or regulated public assembly that is absolutely different from France and England where the public assembly laws are applied. These also embody inappropriate penal codes and provide little guidance to authorities regarding necessary and proportionate use of force. The suggestion of the study : The proposal of the Thai draft of Public Assembly law should keep in mind the right to peaceful public assembly which is a preventive system to make universal rules of public order. The draft should be designed as the administrative law including the partnership of organizers, participants and authorities for shared risk management and a guide line for authorities to perform in line with universal doctrine. Finally, the Thai government must support the citizens to know and accept the need for this legislation instead of imposing the draft as the limitation of the right to freedom of assembly according to the 2007 constitutions Art. 63 paragraph 2en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons