Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4418
Title: การมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
Other Titles: Delegation of acting authority according to the state administration act (issue 7), B.E. 2550 (2007)
Authors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
ศิรินันท์ โต๊ะนาค, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การมอบอำนาจหน้าที่
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง และหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจ เพื่อวิเคราะห์หลักเกณฑ์และปัญหาเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิจัยเอกสารซึ่งได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย ตำรา ผลงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน และเอกสารเผยแพร่อื่นที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มิได้ มีการกำหนดระบุเจาะจงตำแหน่งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งผู้มอบอำนาจยังสามารถมอบอำนาจดังกล่าวให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่นได้ จึงทำให้บทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง และไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ออกกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาของผู้มีอำนาจในเรื่องนั้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาลักษณะของอำนาจที่จะมอบก็เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดประเภทของการมอบอำนาจไว้เป็นสองประเภท ได้แก่ การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป และการมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมาย แต่มิได้มีการวางหลักเกณฑ์การแยกประเภทในเรื่องที่มอบอำนาจ ทำให้บทบัญญัติเกิดความไม่ชัดเจนและการแบ่งประเภทดังกล่าวก็ไม่สอดคล้องกับประเภทของการกระทำทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จนสร้างความสับสนให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนั้น จึงสมควร วางหลักเกณฑ์ ในการมอบอำนาจโดยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ...... การมอบอำนาจให้สอดคล้องกับกฎหมายปกครองด้วย 2534 โดยกำหนดตำแหน่งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจให้ชัดเจน รวมทั้งกำหนดประเภทของการมอบอำนาจให้สอดคล้องกับกฎหมายปกครองด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4418
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons