Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4586
Title: | การศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกเสียงประชามติท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 287 |
Other Titles: | Suitable approaches to local referendum under Article 287 of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 |
Authors: | ชนินาฏ ลีดส์ สุพจน์ เลียดประถม, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ประชามติ กฎหมายรัฐธรรมนูญ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกเสียงประชามติท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 287 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการการออกเสียงประชามติท้องถิ่น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติของประเทศไทยกับของประเทศอังกฤษ และ 4) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าจากเอกสาร (documentary research) วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความต่าง ๆ และสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการเรียบเรียงโดยวิธีพรรณนา (descriptive method) วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) และวิธีวิเคราะห์ (analytical method) ผลการศึกษา พบว่าการออกเสียงประชามติท้องถิ่นของไทยยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาบังคับใช้โดยตรง ได้แต่นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 มาปรับใช้ จึงมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และมีความไม่เหมาะสมในการนำมาบังคับใช้กับท้องถิ่น จึงสมควรเสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติท้องถิ่นโดยการกำหนดประเด็นที่จะให้มีการออกเสียงประชามติมีความชัดเจนยิ่งขึ้น บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นมีสิทธิเสนอให้มีการออกเสียงประชามติได้ และควรจะมีการกำหนดกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการออกเสียงประชามติไว้ ทั้งนี้เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง นอกจากนั้นบทบัญญัติของกฎหมายสมควรกำหนดให้มีการออกเสียงทั้งเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติ หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษา ส่วนจำนวนเสียงที่ใช้ในการตัดสินในเรื่องที่ขอให้มีการออกเสียงประชามติ ควรระบุไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนว่าต้องมีจำนวนเสียงเท่าใดในการออกเสียงที่เป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติ และจำนวนเสียงเท่าใดกรณีเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4586 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License