Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิกรณ์ รักษ์ปวงชนth_TH
dc.contributor.authorสุวิทย์ นาคเป้า, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-17T07:48:42Z-
dc.date.available2023-03-17T07:48:42Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4621en_US
dc.description.abstractในการศึกษาวิจัยเรื่องการกำหนดรูปแบบของการบริหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจปกครองและเขตปกครองพิเศษเพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการบริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และร่างกฎหมายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนซึ่งเสนอโดยนักวิชาการและนักการเมืองรวมทั้งรัฐบาลและรูปแบบการปกครองในเขตปกครองพิเศษของต่างประเทศ ได้แก่ สเปน ฟินแลนด์ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำเสนอรูปแบบการปกครองและบริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ การบริหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันต้องประสบปัญหาการก่อความไม่สงบและมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงขึ้นทุกขณะในปัจจุบันการบริหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นผู้บริหาร แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบได้ รัฐบาลได้ระดมทั้งกำลังพลและงบประมาณในการแก้ไขปัญหาแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากประการแรก การกำหนดนโยบายยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประการที่สอง สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้มาจากคนท้องถิ่นทั้งนี้ หากพิจารณา แก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ของประเทศของต่างประเทศ ได้แก่ สเปน ฟินแลนด์ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้ได้ให้สิทธิคนกลุ่มน้อยปกครองตนเองโดยมีข้อจำกัดบางประการในเรื่องความมั่นคงและต่างประเทศรวมทั้งระบบศาลซึ่งประเทศไทยสามารถนำเอาประสบการณ์ของต่างประเทศมาศึกษาเพื่อนำมาแก้ไขก่อนที่จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยผู้วิจัยเห็นว่าสมควรมีการตรากฎหมายจัดตั้งเขตพื้นที่พิเศษเพื่อให้ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถปกครองตนเองโดยกฎหมายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต อัตตลักษณ์ และการนับถือศาสนาอิสลาม โดยการกำหนดให้ผู้ว่าการนคร สภานคร และสภาที่ปรึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการก่อความไม่สงบ--ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleการกำหนดรูปแบบของการบริหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeEstablishing the form of the administration of three southern provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons