Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4625
Title: ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
Other Titles: Academic leadership in the 21st century of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 20
Authors: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิทักษ์ พันธุวาปี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 และ (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำแนกตามขนาดสถานศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำนวน346 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลาดับดังนี้ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงาน การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (2) สำหรับผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกัน โดยสถานศึกษาขนาดเล็ก แตกต่างกับ ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และ ขนาดใหญ่พิเศษ ในด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงาน และสถานศึกษาขนาดกลางแตกต่างจากขนาดใหญ่ ด้านการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4625
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
full_text165740.pdf18.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons