Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมเกียรติ สัจจารักษ์-
dc.date.accessioned2022-08-11T03:14:25Z-
dc.date.available2022-08-11T03:14:25Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 15-30th_TH
dc.identifier.issn1905-4653-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/468-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการศึกษา 2) เหตุผลในการเลือกจัดการศึกษา 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษา และ 4) ปัญหา อุปสรรค และความต้องการความช่วยเหลือในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้จัดการศึกษาในจังหวัดภูเก็ต 33 ครอบครัว และตัวแทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการศึกษา 15 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในจังหวัดภูเก็ต จัดแบบครอบครัวเดี่ยว มีการร่วมกิจกรรมกับครอบครัวอื่นบ้าง โดยจัดทำแผนให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2) เหตุผลในการเลือกจัดการศึกษา ได้แก่ เพื่อให้ตรงความต้องการและความถนัดของผู้เรียน การศึกษาในระบบไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ปัญหาด้านสุขภาพ ต้องการติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด นักเรียนที่ขาดโอกาสได้กลับมาเรียนต่อในระบบได้ และได้เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เคร่งศาสนา 3) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้จัดการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษา มุ่งมั่นตั้งใจให้ความร่วมมือ มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ มีเครือข่ายบ้านเรียนที่เข้มแข็ง มีผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่ คอยดูแลตลอดจนมีคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นที่ปรึกษา และ 4) ปัญหา อุปสรรค และ ความต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ ขาดการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้แก่ผู้จัดการศึกษา และนักเรียนขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ผู้ปกครองยังขาดความเข้าใจในรูปแบบการจัดการศึกษา และขาดงบประมาณสนับสนุน ด้านความต้องการความช่วยเหลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ควรทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนในการขอเข้าเรียนร่วม หรือใช้แหล่งเรียนรู้ ประสานให้แต่ละครอบครัวรวมกลุ่มจัดกิจกรรม ตลอดจนประชาสัมพันธ์รูปแบบการจัดการศึกษาให้ผู้คนได้เข้าใจth_TH
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.subjectการจัดการศึกษาโดยครอบครัวth_TH
dc.titleความท้าทายต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในจังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeChallenges of the successful homeschooling in Phuket Provinceth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed at investigating the status of educational management regarding homeschooling; reasons for enrolling in homeschooling of families; factors affecting successful homeschooling; obstacles and needs for assistance of Phuket homeschooling. The target groups consisted of 33 Phuket families comprising of students, parents and homeschoolers, and 15 representatives from Phuket educational agencies. The research instruments were in-depth interviews, open-ended questions for focus group discussions, and observation and document analysis forms. A content analysis was employed. The results revealed that 1) Phuket homeschooling was a single-family system which one family would do activities with others occasionally and create a learning plan to suitably develop their children based on everyday practices, self-study, and authentic assessment; 2) the families enrolled in homeschooling because of a desire to meet learners’ needs and aptitudes, an inability to promote real learning of formal education, health problems, a need to monitor the learning progress of their children closely, opportunities of unschooled children to return formal education afterwards and grow up in a religious environment; 3) the factors contributing to successful homeschooling were knowledge, determination, cooperation, and economic readiness of homeschoolers, a strong connection with other homeschoolers and supervisors, an assistance from Phuket Primary Educational Service Area Office, and guidance from lecturers of Faculty of Education, Phuket Rajabhat University; and 4) obstacles and needs of help included a lack of chances to group and arrange activities of learners, parents, education managers, and undereducated children. Furthermore, people had less understanding on homeschooling and budget to support the comprehensive education management. In terms of assistance, Phuket Primary Educational Service Area Office should coordinate with schools and ask them to allow homeschooling learners to co-study or access their learning resources. In addition, the office should connect homeschooling families, form activity groups and educate them to better understand homeschoolingen_US
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44226.pdfเอกสารฉบับเต็ม278.7 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons