Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/515
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกมลพัทธ์ ใจเยือกเย็น-
dc.date.accessioned2022-08-11T08:03:57Z-
dc.date.available2022-08-11T08:03:57Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 197-212th_TH
dc.identifier.issn1905-4653-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/515-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 2) พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 3) เปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จำนวน 20 คน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ปรากฎว่า บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญและจำเป็น เพราะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ลักษณะบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนและครูต้องการมากที่สุด คือ การบรรยายเนื้อหาเป็นเสียงพูดหรือเสียงสังเคราะห์ และเป็นบทเรียนแบบรายบุคคล 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ 77.00 / 80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ภาษาไทยหลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว 14 วัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01th_TH
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.subjectแบบเรียนสำเร็จรูปth_TH
dc.subjectนักเรียนพิการทางสายตาth_TH
dc.subjectคนพิการ -- การศึกษาth_TH
dc.titleการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of electronic programmed instruction to enhance thai language learning achievement of students with visual impairmentth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) investigate fundamental information and needs for an electronic programmed instruction module to help visually impaired students improve their Thai language learning achievement; 2) develop an electronic programmed instruction module to enhance Thai language learning achievement of students with visual impairments; 3) compare Thai language learning achievement of visually impaired students before and after learning with the developed electronic programmed instruction module; and 4) study learning retention of the visually impaired students.The sample comprised 20 grade 6 visually impaired students in Bangkok School for the Blind in the first semester of the academic year 2018, obtained by simple random sampling. The research instruments included 1) a questionnaire;2) an interview form; 3) an electronic programmed instruction module of a Thai language course for grade 6 students; and 3) a Thai language learning achievement test. The data were analyze by using the percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The findings were as follows: 1) the study of fundamental information and needs revealed that an electronic programmed instruction module was important and necessary for visually impaired students. It helped individual students learn and attain their full potential. The most needed electronic programmed instruction module for students and teachers was the one with audio description or speech synthesis which enabled the students to study individually. 2) The electronic programmed instruction module was efficient at 77.00/80.67, which was higher than the set efficiency criterion of 75/75. 3) the post-Thai language learning achievement of the students was significantly higher than their pre-learning counterpart achievement at the .01 level of statistical significance. 4) After 14 days of learning with the electronic programmed instruction module, the students learning retention was higher than 70% criteria at the .01 level of statistical significanceen_US
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44249.pdfเอกสารฉบับเต็ม348.74 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons