Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5244
Title: | ภาพสะท้อนความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ผ่านการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน |
Other Titles: | Reflecting of political conflict about of constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 of the Mr. Samak Sundaravij Government by Political Cartoon in Daily Matichon Newspapers |
Authors: | รุ่งพงษ์ ชัยนาม ธีรพงษ์ ขณะฤกษ์, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การ์ตูนการเมือง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมือง ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่นำเสนอผ่านการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมืองในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมมูญ ฉบับ พ.ศ.2550 สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่เสนอผ่านการ์ตูน มี 2 ประเด็นคือ (1) กลุ่มบุคลที่เช้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มบุคคลที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ รัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล นักวิชาการบางส่วน กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กลุ่มนี้การ์ตูนการเมืองมานำเสนอในลักษณะการต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อช่วยเหลือตัวเอง ไม่เคารพกติกา ไม่พิ่งเหตุผล มุ่งกำจัดปฏิปักษ์ทางการเมือง และกลุ่มบุคคลที่ต่อด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แก่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นักวิชาการบางส่วน กลุ่มนี้การ์ตูนการเมืองมานำเสนอในลักษณะที่มองว่าการออกมาต่อด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นแบบไม่สนใจเหตุผล กลุ่มนี้ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาอื่นๆ ก่อน กลุ่มนี้ออกมาต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่คัดค้านการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน2549 และสนับสนุนการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 (2) ความคิดเห็นของผู้เขียนการ์ตูนกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 มีลักษณะไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหารและการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกลุ่มที่ไม่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5244 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130408.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License