กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5314
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านม่วงคำ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of the inquiry-based learning emphasizing on cooperative learning on the development of achievement in science in the topic of earth and the changes of the earth's crust of Mathayom Suka II Students at Ban Muangkhum School in Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัฐพงษ์ แก้วสมนึก, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การเรียนแบบมีส่วนร่วม
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นศึกษาจากประชากรโดยประชากรเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านม่วงคำ จังหวัดแพร่ จำนวน 16 คน ปีการศึกษา 2552 รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็น ทางการ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูง กว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์หลังเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มและมี จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124102.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons