กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5350
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาคุณภาพละหานทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Internal educational quality assurance of basic educational school in Lahansai quality development area of in Office Buriram Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล้า ทองขาว, อาจารย์ที่ปรึกษา
อำคา สาลี, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันคุณภาพการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาคุณภาพละหานทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน เกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะ ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน เขตพัฒนาคุณภาพละหานทราย รวมทั้งสิ้น 445 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน เกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในภาพรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05 และ เมื่อพิจารณารายมาตรฐานพบว่ามาตรฐานด้านผู้เรียนไม่แตกต่างกัน ส่วนมาตรฐานด้านครู ด้านผู้บริหาร ด้านการพัฒนาชุมแห่งการเรียนรู้มีความคิดเห็นแตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านผู้เรียนควรส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ด้านครูควรได้รับมอบหมายงานที่เหมาะสม ด้านผู้บริหารควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาใช้ในการจัดการศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5350
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122076.pdf5.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons